เลี้ยงกบ สำหรับผู้ศึกษาเริ่มต้น แบบละเอียด




รายละเอียดโพส! admin
ประมง  
เลี้ยงกบ สำหรับผู้ศึกษาเริ่มต้น แบบละเอียด
  • 0 ตอบ
  • 4806 อ่าน
« admin»เมื่อ: 01 ธันวาคม 2563, 10:30:53 pm »


การเลี้ยงกบในปัจจุบัน ลูกกบที่นำมาเลี้ยงได้มาจาก 2 แหล่ง คือ

1. ลูกกบจากธรรมชาติ

ภายหลังจากลูกอ๊อดเจริญกลายเป็นกบแล้ว จะดำเนินการ อนุบาลจนกระทั่งเติบโตได้ขนาดจึงปล่อยลงบ่อเลี้ยง ลูกกบที่ปล่อยลงบ่อเลี้ยงนี้นิยมลูกกบ ที่มีขนาด 3-5 เชนติเมตรขึ้นไป หรือถ้ารวบรวมจากธรรมชาติก็ต้องมีขนาดที่ทราบแน่นอนแล้ว ว่าเป็นลูกกบ

2. ลูกกบจากโรงเพาะฟัก

เป็นวิธีการเลี้ยงที่ดีที่สุด เพราะจะได้ผลผลิตมากและแน่นอน นอกจากนี้ต้นทุนยังต่ำ สามารถลดปัญหาการบอบช้ำจากการลำเลียงลูกกบจากธรรมชาติได้อีกด้วย วิธีนี้ลูกกบจะได้มา โดยการนำเอาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีมาผสมกันในบ่อผสมพันธุ์ แล้วนำไข่ที่ได้มาฟักใน บ่อเพาะฟกเพื่อให้ได้ลูกกบ แล้วจึงนำไปอนุบาลต่อในภายหลัง

การฟักไข่

1.ทำความสะอาดบ่อฟักไข่ โดยใช้ฟอร์มาลีน 38-40 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 30 ชีชี ต่อน้ำ 1000 ลิตร ราดให้ทั่วบ่อ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เสร็จแล้วใช้น้ำสะอาดล้างทำ ความสะอาดให้หมดกลิ่น

2.เติมน้ำสะอาดให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร

3.ใส่พันธุ์โม้นำ เช่น ผักบุ้ง สาหร่าย และไม้น้ำชนิดอื้น ๆ ในบ่อฟักไข่ให้กระจาย สม่ำเสมอพอประมาณ

4.รวบรวมไข่กบทีได้ปล่อยลงในบ่อ บ่อขนาด 18-25 ตารางเมตร จะจุไข่กบได้ ประมาณ 5,000 – 7,000 ฟอง

5.เพิ่มออกซิเจนด้วยเครื่องอัดอากาศตลอดเวลา

6.ถ่ายน้ำทุก ๆ วัน ๆ ละครึ่งหนึ่งของบ่อ



การเลี้ยงกบเพื่อส่งตลาด

กบที่คัดมาจากบ่ออนุบาลระยะสองนั้น จะนำมาเลี้ยงในบ่อระยะสุดท้ายเพื่อส่งตลาด มีหลักปฎิบัติดังนี้คือ

1. ก่อนการปล่อยกบลงสู่บ่อเลี้ยง

ให้ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงให้เรียบร้อย ใส่น้ำสะอาดลงในบ่อเลี้ยงให้สูง 30 เชนติเมตร

2. การปล่อยกบลงเลี้ยง

ควรปล่อยกบที่มีขนาดเท่ากันคือประมาณ 1.5-2.0 นิ้ว เลี้ยงในอัตรา 100 ตัวต่อตารางเมตร ในการปล่อยกบนั้นควรวางภาชนะไว้บนชานบ่อสักพักหนึ่งแล้ว เปิดภาชนะ เอียงให้กบออกจากภาชนะที่ใส่ลงสู่บ่อเลี้ยงเอง

3. การให้อาหาร

ควรให้อาหารกบเป็นเวลาคือ เช้าและเย็น อาหารที่ให้เป็นพวกปลาสับ เครื่องในสัตว์หรืออาหารเม็ดของปลาดุกให้ 2 มื้อ คือเช้า เย็น ปริมาณอาหารที่ให้ประมาณ 3 เปอร์เช็นต์ของน้ำหนักตัว

4. การตรวจขนาด

ควรมีการตรวจขนาดกบอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยวัดความยาวของลำตัวและ ชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจดูการเจริญเติบโตของกบ และเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ หากการเจริญ เติบโตของกบไม่ดีพอ ควรพิจารณาถึงปริมาณและคุณค่าของอาหารที่ให้ว่าเหมาะสมหรือไม่

5. การตรวจสภาพบ่อ

บ่อเลี้ยงกบอาจมีการรั่วซึมหรือมีรอยรั่วควรมีการซ่อมแซมแก้ไข

6. การถ่ายเทน้ำ

น้ำที่สะอาดและมีการไหลผ่านตลอดเวลาจะทำให้กบกินอาหารได้ดี เจริญเติบโต ได้รวดเร็วแต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่อย่างน้อยควรมีการถ่ายเปลี่ยนน้ำวันละครั้ง

7. การคัดขนาด

คัดเลือกกบที่มีขนาดโตเท่า ๆ กัน เลี้ยงรวมไว้ด้วยกัน จะช่วยให้การเจริญเติบโต ดีขึ้น และการกัดกินกันเองลดลง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มกราคม 2564, 10:59:31 pm โดย admin »