โหระพา




รายละเอียดโพส! admin
กลุ่มยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ  
โหระพา
  • 0 ตอบ
  • 3292 อ่าน
« admin»เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2563, 07:00:23 pm »


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีลักษณะหรือลักษณะพิเศษของโหระพาดังนี้ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู มีลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมและเป็นพุ่ม ลำต้นจะแตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง มีขนอ่อนๆ ที่ผิวลำต้น ใบมีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติจะยาวไม่เกิน ๒ นิ้ว ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวอมม่วงและมีก้านใบยาว ดอกโหระพา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วงจะออกเป็นช่อคล้ายฉัตรที่ยอด ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว ในแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ ๔ อัน รังไข่แต่ละอันจะมีสีม่วง เมล็ดมีสีดำมีกลิ่นหอมทั้งต้น
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เมล็ด และราก

ทั้งต้น – เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้

เมล็ด – นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)

ราก – ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้

สรรพคุณ :

ทั้งต้น
– รสฉุน สุขุม ขับลม ทำให้เจริญอาหาร
– แก้ปวดหัว หวัด ปวดกระเพาะอาหาร
– จุกเสียดแน่น ท้องเสีย
– ประจำเดือนผิดปกติ
– ฟกช้ำจากหกล้ม หรือกระทบกระแทก งูกัด
– ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง

เมล็ด
– รสชุ่ม เย็น สุขุม ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก
– ใช้แก้ตาแดง มีขี้ตามาก ต้อตา
– ใช้เป็นยาระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน)

ราก – แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง

วิธีและปริมาณที่ใช้

ทั้งต้น – แห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้สดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้า บดเป็นผง ผสมทา

เมล็ด – แห้ง 2.5-5 กรัม ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม ใช้ภายนอก บดเป็นผงแต้มทา

ราก – เผา เป็นเถ้าพอก

ใบ
– ใช้ใบคั้นเอาน้ำ 2-4 กรัม ผสมน้ำผึ้ง จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบ
– ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ชุบน้ำคั้นจากใบอุดโพรงฟันที่ปวด แก้ปวดฟัน

สารเคมี
น้ำมันหอมระเหยจากใบ ประกอบด้วย Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol,limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragol

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.

ชื่อสามัญ : Sweet Basil

วงศ์ : Labiatae

ชื่ออื่น : ห่อกวยซวย ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มกราคม 2564, 10:56:05 pm โดย admin »