โรคแอนแทรคโนสในสตรอว์เบอร์รี มักระบาดช่วงฝนนี้
Khaset108@gmail.com
www.khaset108.com
เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
ลงประกาศฟรี
ติดต่อเรา
Toggle navigation
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
Search posts
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบสมาชิก
×
เข้าสู่ระบบ
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เกษตร สมุนไพร ข่าวเกษตร ปลูกผัก เลี้ยงปลา ประมง ปศุสัตว์ การเกษตร เกษตรร้อยแปดดอทคอม
เว็บบอร์ดเกษตร การเกษตร ข่าวสาร สมุนไพร ตลาดซื้อขายสินค้าฟรี 24 ชั่วโมง
ข่าวสาร บทความ ภูมิปัญญาเกษตรและอื่นๆ
โรคแอนแทรคโนสในสตรอว์เบอร์รี มักระบาดช่วงฝนนี้
รายละเอียดโพส!
admin
การเกษตร
ข่าวใหม่ล่าสุด
เทสโก้ โลตัส หนุนพื้นที่ฟรี เปิดศูนย์ฝึกอาชีพแก่ประชาชน เสริมแรงง...
การเกษตร
ข่าวสาร บทความ ภูมิปัญญาเกษตรและอื่นๆ
โรคแอนแทรคโนสในสตรอว์เบอร์รี มักระบาดช่วงฝนนี้
0 ตอบ
5044 อ่าน
«
admin
»เมื่อ:
06 ธันวาคม 2563, 11:48:01 pm »
ในระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีเฝ้าระวังการระบาดของโรคแอนแทรคโนส สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของสตรอว์เบอร์รี มักพบอาการบนก้านใบและลำต้น มีแผลสีม่วงแดงขนาดเล็กขยายลุกลามไปตามความยาวของก้านใบและลำต้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบริเวณแผลแห้ง ทำให้เกิดรอยคอด หากอาการรุนแรง ต้นจะเหี่ยว และตายในที่สุด อาการบนผล พบแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อรอบขอบแผลสีซีด แผลยุบตัวลง หากอาการรุนแรง แผลจะขยายใหญ่จนทำให้ผลเน่า ในสภาพที่มีอากาศชื้นอาจพบกลุ่มสปอร์สีส้มของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่บริเวณแผล
วน อาการบนไหล จะมีแผลเล็กสีม่วงแดงขยายลุกลามไปตามความยาวของสายไหล ต่อมาแผลที่ขยายยาวจะเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาล ทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล เมื่อย้ายต้นจากไหลที่มีการติดเชื้อมาปลูกหากสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรค สตรอว์เบอร์รีจะแสดงอาการใบเฉา ต่อมาจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว และพบว่ากอด้านในจะเน่าแห้งสีน้ำตาลแดง หรือบางส่วนเป็นแผลขีดสีน้ำตาลแดง และต้นจะตายในที่สุด
แนวทางในการป้องกันกำจัด เกษตรกรต้องหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้น ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟลูโอไพแรม+ไตรฟลอกซีสโตรบิน 25%+25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟลูโอไพแรม+ทีบูโคนาโซล 20%+20% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน ในส่วนของแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตสตรอว์เบอร์รีแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชนำไปทำลายนอกแปลงปลูก และควรเลือกใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค
ที่มา : เกษตรก้าวไกล
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »