แสดงกระทู้ - baby8

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - baby8

หน้า: 1 [2] 3 4
21
พัฒนาการทารกแต่ละช่วงวัย ตอนที่ 3

 

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

 

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

มีปฏิกิริยาต่อถ้อยคำที่คุ้นเคย โดยเด็กอาจหยุดหรือจ้องหน้าแม่ หากได้ยินคำว่า     “ไม่” รวมทั้งหันมองเมื่อได้ยินคนเรียกชื่อตัวเอง

แยกอารมณ์ความรู้สึกได้จากการฟังน้ำเสียง

เริ่มเปล่งเสียงพูดคำว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้

รู้จักเรียนรู้การใช้สิ่งของต่าง ๆ

 

พัฒนาการด้านสังคม

เล่นเกมที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น เล่นจ๊ะเอ๋

กังวลเมื่อต้องอยู่กับคนแปลกหน้า เด็กจะไม่อยากอยู่กับคนอื่นนอกจากแม่ หรือจะหาทางหนีไปที่อื่นหากรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจเมื่อพ่อแม่ไม่อยู่ใกล้ ๆ

มีปฏิกิริยาต่ออารมณ์ความรู้สึกที่พ่อแม่แสดงออกมา

วิธีดูแลพัฒนาการทารก ทารกในช่วงวัยนี้ยังคงเรียนรู้และเล่นกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวไปพร้อมกัน พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงควรดูแลทารกเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก ดังนี้

ควรพูดคุยกับเด็กเรื่อย ๆ โดยเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟัง และรอให้เด็กส่งเสียงโต้ตอบกลับมา หรือพูดบางอย่างและให้เด็กพูดตาม



 

หาเวลาเล่นกับเด็ก โดยอาจเล่นอย่างอื่นนอกเหนือจากการเล่นที่เคยเล่นมา เช่น เรียงตัวต่อซ้อนขึ้นเป็นชั้นแล้วให้เด็กพังตัวต่อนั้น รวมทั้งให้เด็กเล่นของเล่นที่เสริมสร้างจินตนาการ เช่น ระบายสีหรือละเลงอาหารบนถาดที่เตรียมไว้

 

อ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยเปลี่ยนน้ำเสียงและแสดงสีหน้าออกมาให้แตกต่างกัน เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาของเด็ก รวมทั้งเก็บหนังสือไว้ในที่ที่เด็กหยิบได้ เพื่อให้เด็กหยิบหนังสือมาดูภาพเพื่อผ่อนคลายความเครียด

 

เปิดเพลงหรือดนตรีเบาๆให้เด็กฟัง เพื่อให้เด็กผ่อนคลายและรู้สึกเพลิดเพลิน

หาสิ่งของที่นุ่ม ปลอดภัย เพื่อให้เด็กรู้สึกอุ่นใจที่มีของสิ่งนั้นอยู่ด้วยในกรณีที่ต้องห่างจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยง หรือยามที่เด็กรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมา

ความผิดปกติทางพัฒนาการ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงควรหมั่นสังเกตการแสดงออกของทารกว่าเกิดความผิดปกติใด ๆ ขึ้นหรือไม่ โดยความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในช่วงวัย 7-9 เดือน มีดังนี้

ไม่กลิ้งตัวหมุน หรือไม่ลุกขึ้นนั่ง

ไม่เอื้อมไปหยิบสิ่งของ หรือไม่หยิบสิ่งของเข้าปาก

ไม่ตอบสนองต่อเสียงหรือภาพใดๆ

ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ หรือเลียนแบบเสียงใด ๆ

 

ช่วงวัย 10-12 เดือน ช่วงสุดท้ายของพัฒนาการทารกในช่วง 1 ปีแรกนี้ นับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของทารก เนื่องจากทารกอายุ 10-12 เดือน กำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นเด็กเล็กหัดเดินได้ ทารกจะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดังนี้

 

พัฒนาการทางร่างกาย

เกาะราวและลุกขึ้นยืนได้เอง และอาจเดินก้าวแรกได้ด้วย โดยเด็กจะก้าวได้เองเมื่ออายุครบ 12 เดือน

เริ่มเดินเตาะแตะเพื่อสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ไปทั่วบ้าน

ปีนป่ายตามเก้าอี้หรือโต๊ะ ซึ่งช่วยกระตุ้นการเดินของเด็ก

วางของเล่นเรียงซ้อนกัน

เปิดหนังสือไปหน้าอื่นขณะที่พ่อแม่กำลังอ่านอยู่

มักช่วยพ่อแม่แต่งตัวให้ตัวเอง

เริ่มหยิบอาหารกินเอง

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

ส่งเสียงอ้อแอ้และพูดคำง่าย ๆ ได้ เช่น คำว่า “หม่ำ ๆ”  “มามา” “ปาปา” หรือ “ดาดา” ได้

มักพูดคำที่พูดได้บ่อยอยู่ 2-3 คำ ซึ่งมักเป็นคำว่า “หม่ำ ๆ” “มามา” และ “ปาปา”

เลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เช่น หวีผมตัวเอง กดรีโมตเล่น หรือทำเป็นคุยโทรศัพท์ เป็นต้น

ชี้ไปที่สิ่งของที่อยากได้เพื่อให้พ่อแม่สนใจ

เข้าใจประโยคบางประโยคที่คนใกล้ชิดสื่อสารออกมา รวมทั้งทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้

เปล่งเสียงอุทานออกมาได้

โบกไม้โบกมือ หรือชี้นิ้วไปยังสิ่งของที่อยู่เกินเอื้อม

 

พัฒนาการด้านสังคม

รู้จักแสดงความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบกินอะไร เช่น ทิ้งช้อนไม่กินข้าวต่อ หรือเลื่อนจานอาหารที่ไม่ชอบออกไป

ชอบเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ เช่น เลียนแบบการคุยโทรศัพท์

รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์ เช่น เด็กจะรู้ได้ว่าหากร้องไห้ แม่จะมาหา

วิธีดูแลพัฒนาการทารก ทารกช่วงวัยนี้เริ่มมีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงควรดูแลความปลอดภัยและกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของทารกควบคู่กันไป โดยทำได้ ดังนี้

 

ควรจัดสรรเวลาสำหรับอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน โดยอาจใช้เวลาอ่านหนังสือไม่นาน ทั้งนี้ ควรแสดงสีหน้าหรือแสดงน้ำเสียงประกอบการอ่านให้น่าสนใจ

ควรพูดคุยกับเด็กอยู่เสมอ เช่น เมื่อเด็กเอื้อมมือไปหยิบหนังสือลงมาจากชั้นวางหนังสือ อาจถามหรือพูดคุยกับเด็ก โดยเว้นช่วงให้เด็กส่งเสียงโต้ตอบกลับมา หรือถามคำถามเด็กเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ

 

ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งซ้ำมากกว่ารอบเดียว เช่น เรียงตัวต่อให้เด็กพังลงมา แล้วเรียงใหม่เพื่อให้เด็กพังลงมาอีกรอบ หรือหากเด็กเปิดหนังสือย้อนกลับไปหน้าที่ผ่านมาแล้ว ก็อ่านหนังสือหน้านั้นให้เด็กฟังอีกครั้ง การทำอะไรซ้ำ ๆ เช่นนี้้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ตัวเด็ก รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็กให้แน่นแฟ้นมากขึ้น

เปิดเพลงหรือดนตรีคลอเบา ๆ เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย

 

สอนให้เด็กรู้จักคำง่าย ๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งของรอบตัว

ควรดูแลเด็กไม่ให้เข้าใกล้เหตุการณ์หรือสิ่งที่เป็นอันตราย รวมทั้งห้ามปรามเมื่อเด็กทำตัวไม่เหมาะสม โดยอธิบายอย่างใจเย็นและดึงความสนใจเด็กด้วยของเล่นหรือสิ่งที่เด็กชอบ

 

ความผิดปกติทางพัฒนาการ อย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงพบสัญญาณที่แสดงความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ ควรปรึกษาแพทย์ทันที ซึ่งความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการของทารก มีดังนี้

ไม่คลานหรือใช้ลำตัวด้านใดด้านหนึ่งไถไปขณะคลาน

ไม่ยืนแม้พ่อแม่จะช่วยก็ตาม

ไม่แสดงท่าทางต่าง ๆ เช่น ไม่โบกมือหรือส่ายศีรษะ

ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ หรือพยายามพูดคำว่า “มามา” หรือ “ปาปา”

ไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ไม่ประสานสายตาด้วย

วิธีดูแลความปลอดภัยของทารก

 

พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทารก และดูแลทารกให้ปลอดภัยได้ โดยวิธีดูแลทารกให้ปลอดภัยทำได้ ดังนี้

 

ไม่เขย่าตัวทารก เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสมองหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต

ควรให้เด็กนอนหลับในท่านอนหงาย เพื่อป้องกันภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome: SIDS)

ไม่ควรให้เด็กได้รับอันตรายจากควันบุหรี่จากคนที่สูบบุหรี่

ควรให้เด็กนั่งเบาะหลังโดยใช้ที่นั่งสำหรับเด็กทารกโดยเฉพาะเมื่อต้องโดยสารรถยนต์

ควรตัดอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเลี่ยงให้เด็กกินผลไม้ที่มีเมล็ดหรือถั่วต่าง ๆ เพื่อป้องกันไอาหารติดคอ รวมทั้งไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็ก ๆ เพื่อป้องกันเด็กเอาเข้าปากและกลืนลงคอ

ไม่ถือของร้อนเข้าใกล้เด็ก

ควรพาเด็กไปรับวัคซีนป้องกันโรคให้ครบอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากเวป pobpad.com

 

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

22
พัฒนาการทารกแต่ละช่วงวัย ตอนที่ 2

 

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

 

พัฒนาการทางร่างกาย

ขยับแขนขาแรงขึ้น

ยกศีรษะขึ้นเองได้เมื่อต้องนอนคว่ำหน้า

ใช้แขนยันตัวเองขึ้นมาได้เมื่อต้องนอนคว่ำหน้า

เมื่ออายุครบ 4 เดือน เด็กจะเริ่มพลิกคว่ำพลิกหงาย โดยกลิ้งตัวจากหน้ามาหลัง และกลิ้งกลับจากหลังไปหน้าได้ โดยมักกลิ้งจากหน้าไปหลังได้ก่อน

เอื้อมมือจับของและนำมาถือไว้ในท่านอนหงายได้ รวมทั้งเริ่มหยิบของเข้าปากตัวเอง

เรียนรู้การส่งของจากมือข้างหนึ่งไปยังอีกมือข้างหนึ่ง รวมทั้งใช้มือคุ้ยของชิ้นเล็ก ๆ

เมื่ออายุครบ 6 เดือน นั่งได้เองโดยไม่ล้ม โดยจะใช้มือช่วยพยุงตัวเองชั่วครู่ในช่วงแรก และต่อมาจะนั่งได้เองนานถึง 30 วินาที และมากขึ้นเรื่อย ๆ



 

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

แยกความแตกต่างของใบหน้าคนแปลกหน้าและคนที่รู้จักได้

เริ่มให้ความสนใจกับของเล่น สังเกตนิ้วมือและเท้าของตัวเอง รวมทั้งมองเงาสะท้อนของตัวเอง

หัวเราะออกมาเสียงดัง และยังพูดอ้อแอ้

เลียนแบบการแสดงสีหน้าและเสียงของพ่อแม่ ทั้งนี้ ทารกอาจพูดอ้อแอ้และหยุดเว้นช่วง เพื่อรอให้คนที่ตัวเองสื่อสารด้วยโต้ตอบกลับมา

 

วิธีดูแลพัฒนาการทารก ทารกช่วงนี้อยู่ในวัยเรียนรู้และสนุกสนานกับการเล่นไปพร้อมกัน โดยพ่อแม่ต้องช่วยดูแลเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก ดังนี้

ควรพูดคุยกับเด็กเรื่อย ๆ รวมทั้งโต้ตอบเมื่อเด็กส่งเสียงอ้อแอ้ โดยใช้คำง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เพราะการสื่อสารมีส่วนช่วยในการสร้างพัฒนาการทางภาษา

ให้เด็กนอนคว่ำ และนำของเล่นหรือส่งเสียงเพื่อกระตุ้นให้เด็กหันศีรษะมองตามและฝึกกลิ้งตัว ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงควรจับมือเด็กและพูดกระตุ้นให้เด็กลุกขึ้นยืน โดยนับ 1-3 สามและดึงเด็กให้ลุกขึ้นยืนเบาๆ หากจะฝึกให้นั่ง ควรหาหมอนมาช่วยหนุนตัวเด็กไม่ให้ล้ม

เลือกของเล่นที่มีสีสันสดใสหรือมีเสียง เช่น ของเล่นไขลานที่มีเสียงดนตรี ของเล่นเด็กที่เขย่าแล้วมีเสียง หรือตุ๊กตาตัวนุ่มๆ รวมทั้งเลี่ยงของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็กๆ ทั้งนี้ ควรนำของเล่นออกมาให้เด็กเล่นครั้งละ 1-2 ชิ้น เพื่อฝึกให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ

ลองเลื่อนของเล่นออกห่างจากตัวเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กเอื้อมหรือคลานไปหยิบมา

 

อ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยเลือกหนังสือเล่มใหญ่ที่มีภาพสีสันสดใส และบรรยายให้เด็กฟัง จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการพูดและคิด

เล่นจ๊ะเอ๋กับเด็ก หรือเล่นซ่อนหา โดยนำของเล่นไปซ่อนและกระตุ้นให้เด็กหาให้เจอ

ควรกอดและกล่อมเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย

เปิดเพลงหรือดนตรีให้ฟัง เพื่อให้เด็กผ่อนคลาย

ดูแลทารกอย่างใกล้ชิด โดยสังเกตว่าเด็กต้องการ ชอบหรือไม่ชอบอะไร

 

พัฒนาการด้านสังคม

รู้สึกสนุกเมื่อได้เล่น และจะร้องไห้เมื่อหยุดเล่น

เลียนแบบการเล่นทำเสียงได้

มักโผเข้าหาแม่หรือพ่อ และจะร้องไห้ทุกครั้งเมื่อไม่เห็นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงอยู่ใกล้ ๆ

จดจำใบหน้าพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดได้ รวมทั้งรู้จักชื่อของตัวเอง

ความผิดปกติทางพัฒนาการ พ่อแม่ควรพบแพทย์ทันทีหากทารกเกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการ ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในช่วงวัยนี้ ได้แก่

กล้ามเนื้อแข็งตึง

ตัวอ่อนปวกเปียกอย่างเห็นได้ชัด

เอื้อมมือไปแตะสิ่งของได้แค่ข้างเดียว

ไม่ปรากฏสัญญาณของการเคลื่อนไหวหรือควบคุมศีรษะ

ไม่ตอบสนองต่อแสงหรือภาพต่าง ๆ

ไม่จับสิ่งของ หรือหยิบสิ่งของใส่ปากตัวเอง

ไม่พยายามกลิ้งตัวหรือนั่ง

ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างเขเข้าหรือเขออก

ไม่หัวเราะหรือร้องออกมา

 

ช่วงวัย 7-9 เดือน ทารกในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่มากขึ้น เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวและกลิ้งตัวได้มากขึ้น ทารกจะคิดหาวิธีเคลื่อนไหวไปข้างหน้าหรือข้างหลัง โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการ ดังนี้

 

พัฒนาการทางร่างกาย

เคลื่อนไหวไปมามากขึ้น โดยเริ่มจากหัดคลาน และไถก้นไปกับพื้น ทั้งนี้ เด็กอาจหัดคลานโดยใช้แขนและขาช่วยนอกเหนือไปจากการคลานด้วยมือหรือเข่า อย่างไรก็ตาม ทารกบางคนอาจไม่คลานเลย แต่จะหัดเคลื่อนไหวจากการไถก้นไปกับพื้นไปจนถึงเริ่มเดินได้

นั่งได้เองโดยไม่ล้ม

หมุนกลิ้งได้ทั้งจากหน้าไปหลัง หรือจากหลังมาหน้า รวมทั้งกลิ้งตัวขณะที่หลับอยู่

ดึงตัวเองให้ลุกขึ้นมายืนได้

มักปีนป่ายเก้าอี้หรือโต๊ะ

เรียนรู้การใช้นิ้วมือ รู้จักหยิบของด้วยนิ้วสองนิ้ว รวมทั้งเริ่มปรบมือเป็น

ปีนป่ายและคลานได้

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากเวป pobpad.com

 

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

23
พัฒนาการทารกแต่ละช่วงวัย ตอนที่ 1

 

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

 

พัฒนาการทารก
(Development of Infancy) คือ ความเปลี่ยนแปลงหรือการเจริญเติบโตเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ของทารก โดยเริ่มตั้งแต่แรกคลอดจนถึงช่วงที่เริ่มเดินได้ ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาทั้งสิ้น 12 เดือน ทารกเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการทุกเดือน โดยพัฒนาการของทารกจะเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาของแต่ละคน ทารกบางคนอาจพูดคำแรกได้เมื่ออายุ 8 เดือน ในขณะที่ทารกคนอื่นจะเริ่มพูดเมื่ออายุครบ 1 ขวบ ทั้งนี้ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของทารกแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา และพัฒนาการด้านสังคม

 

พัฒนาการทารก



พัฒนาการทารกและวิธีดูแลทารกในแต่ละช่วงวัย

 

ทารกแต่ละคนมีพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญาและภาษา และด้านสังคม แตกต่างกันไปตามช่วงวัย อย่างไรก็ดี พัฒนาการทารกในช่วงอายุ  1 ปีซึ่งนับตั้งแต่แรกคลอด มักเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ดังนี้

 

ช่วงวัย 1-3 เดือน พัฒนาการทารกเริ่มตั้งแต่แรกคลอด นับจากแรกเกิดจนถึงอายุ 3 เดือน ถือเป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของทารกเริ่มเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่กับโลกภายนอก ทารกจะเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

 

พัฒนาการทางร่างกาย

เมื่ออายุครบ 1-2 เดือน เด็กจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายได้บางส่วน ซึ่งเริ่มจากกล้ามเนื้อคอ เด็กจะเริ่มหันศีรษะจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้าน หรือชันคอขึ้นเมื่อนอนคว่ำท้องแนบพื้น โดยท่านอนคว่ำที่ใช้ท้องพยุงช่วยนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเริ่มมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายที่ปกติตามวัย เมื่ออายุครบ 2-3 เดือน เด็กจะชันคอเองได้นานขึ้น โดยตั้งศีรษะหรือคอค้างไว้สักพักหนึ่ง

กำและแบมือ

สัมผัสและจับสิ่งของได้ โดยอาจหยิบฉวยมาถือไว้แน่น

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

จ้องหน้า สบตาและสังเกตใบหน้ามารดาขณะที่ให้นม รวมทั้งสังเกตความซับซ้อนของลักษณะสิ่งของ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ทั้งนี้ ทารกจะชอบมองมือหรือเท้าตัวเองและเริ่มเล่นนิ้วมือ

เมื่ออายุครบ 2 เดือน เด็กจะเล่นนิ้วตัวเอง และมองตามสิ่งของที่เคลื่อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง และเมื่ออายุครบ 3 เดือน เด็กจะมองสิ่งต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวไปมารอบตัว

มีปฏิกิริยาต่อเสียงที่ได้ยิน โดยอาจนิ่งฟังหรือยิ้มตอบ ซึ่งมักเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์

เมื่ออายุครบ 3 เดือน จะสนใจรูปร่างหรือเสียงที่ดึงดูดความสนใจ รวมทั้งหันมองตามเสียงนั้น

หัดพูดอ้อแอ้

พัฒนาการด้านสังคม

เมื่อพ่อแม่คุยหรือเล่นด้วย ทารกอาจยิ้มตอบ หรือพูดอ้อแอ้และเป่าน้ำลายเป็นฟอง

เลียนแบบสีหน้าของพ่อแม่ รวมทั้งโผเข้าหาพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเมื่อต้องการความปลอดภัย ความรัก และการปลอบโยน

วิธีดูแลพัฒนาการทารก สัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่กับทารกนับเป็นรากฐานของพัฒนาการที่สมบูรณ์ พ่อแม่ควรดูแลทารกในช่วงวัย 1-3 เดือน ได้ ดังนี้

ควรอุ้มหรือกอดทารกอย่างเบามือ ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น ทั้งนี้ ควรให้เด็กจ้องมองใบหน้าของผู้เลี้ยง และจับนิ้วมือหรือสัมผัสใบหน้าของผู้เลี้ยงด้วย

ควรสื่อสารกับทารก โดยถามคำถามเด็กหรือโต้ตอบเมื่อเด็กส่งเสียงอ้อแอ้ รวมทั้งอธิบายสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้ทารกฟังไปเรื่อย ๆ ด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก การพูดให้เด็กฟังจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษา และเรียนรู้ความรู้สึกจากการฟังน้ำเสียง

อุ้มเด็กโดยหันหน้าทารกออกด้านนอก รวมทั้งลองให้เด็กนอนคว่ำ และส่งเสียงกระตุ้นให้เด็กเงยศีรษะมองตาม อาจให้เด็กนอนคว่ำแค่ 2-3 นาที เนื่องจากการนอนคว่ำทำให้เด็กอึดอัดไม่สบายตัว นอกจากนี้ พ่อแม่ควรให้เด็กหลับในท่านอนหงาย

ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเมื่อเด็กร้องไห้ เนื่องจากเด็กอาจต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม หิว หรืออยากให้กอด ทั้งนี้ การดูแลเอาใจใส่ยังช่วยเสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทารกและแม่

ความผิดปกติทางพัฒนาการ พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตทารกว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ หรือไม่ และปรึกษาแพทย์ทันทีหากเด็กผิดปกติ โดยความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกช่วงวัย 1-3 เดือน มีดังนี้

ไม่ปรากฏพัฒนาการด้านการควบคุมหรือเคลื่อนไหวศีรษะ

ไม่ตอบสนองต่อเสียงหรือภาพใด ๆ

ไม่ยิ้มตอบผู้คนหรือเมื่อได้ยินเสียงของพ่อแม่

ไม่มองตามสิ่งของที่เคลื่อนไหวไปมา

ไม่สังเกตมือของตัวเอง

ไม่หยิบฉวยหรือถือสิ่งของใด ๆ

ช่วงวัย 4-6 เดือน ทารกในช่วงวัยนี้จะเริ่มรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็กจะเรียนรู้และต้องการจัดการทุกสิ่งด้วยตัวเอง โดยพัฒนาการทารกช่วงวัย 4-6 เดือน เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ดังนี้

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากเวป pobpad.com

 

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

24
     การเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่


1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาแต่ละช่วงชีวิต
        1.1 วัยทารก
            วัยทารก คือ วัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ปี  มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านร่างกาย
น้ำหนักแรกคลอดประมาณ 3,000 กรัม เมื่อครบ 1 ปี จะเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า
ส่วนสูงหรือความยาวประมาณ 54 เซนติเมตร และส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า เมื่ออายุครบ 1 ปี
ขนาดรอบศีรษะแรกคลอดประมาณ 35 เซนติเมตร เมื่อครบ 1 ปี จะมีขนาดรอบศีรษะประมาณ 45 เซนติเมตร
ฟันซี่แรกจะขึ้นเมื่ออายุ 6-8 เดือน และเมื่อครบ 1 ปี จะมีฟันประมาณ 12 ซี่
ด้านจิตใจและอารมณ์
1-3 เดือน ส่งเสียงร้องเมื่อรู้สึกหิว รู้จักยิ้มเมื่อถูกหยอกล้อ ร้องไห้เมื่อโกรธ ทำเสียงดังเมื่อดีใจ
4-6 เดือน หัวเราะเสียงดัง ร้องไห้เมื่อโกรธหรือถูกขัดใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
7-9 เดือน ร้องไห้เมื่อไม่พอใจและมีอารมณ์กลัวมากขึ้นแสดงความรักด้วยการโอบกอด ตอบสนองต่อการถูกดุและร้องไห้
10-12 เดือน แสดงอารมณ์ดีใจ เสียใจมากขึ้น เมื่อมีคนเล่นด้วยจะหัวเราะเสียงดัง สามารถเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นได้
ด้านสังคม
เริ่มพัฒนาการทางสังคมกับบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว และผู้ที่เลี้ยงดู
1-2 เดือน จ้องหน้าและตอบสนองผู้หยอกล้อได้
3-5 เดือน ชอบให้คนอยู่ใกล้ๆ สนใจเสียงคนพูดคุย
12 เดือน จะสามารถเล่นกับผู้อื่นได้
ด้านสติปัญญา
แสดงออกและโต้ตอบด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย
เริ่มเรียนรู้การพูดคุยกับผู้อื่นด้วยการพูดทีละคำ 


        1.2 วัยก่อนเรียน
                วัยก่อนเรียน  คือ วัยตั้งแต่ 1 ปี จนถึง 6 ปี มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆดังนี้
ด้านร่างกาย
ด้านน้ำหนักและส่วนสูง จะเพิ่มขึ้นช้ากว่าวัยทารถ
เมื่ออายุ 1 ปี จะมีฟันน้ำนมประมาณ 12 ซี่
ฟันน้ำนมจะครบ 20 ซี่ เมื่ออายุประมาณ 3 ปี และฟันน้ำนมจะเริ่มหยุดโดยมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่
ด้านจิตใจและอารมณ์
มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย โดยอารมณ์โกรธและดีใจจะเกิดขึ้นบ่อย
เมื่ออายุครบ 2 ปี จะเริ่มรู้จักอิจฉาผู้อื่น
กลัวคนแปลกหน้า
สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 4 ปี
ด้านสังคม
สังคมส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่เลี้ยงดูและคนในครอบครัว
เมื่อเริ่มเข้าโรงเรียนจะมีความสัมพันธ์กับเพื่อน แต่อาจมีการทะเลาะกัน เพราะยังขาดประสบการณ์ในการเล่นกับเพื่อน
รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา
1-3 ปี สนใจสิ่งใหม่ๆ พูดรู้เรื่อง ใช้ภาษาได้คล่อง
4 ปี สามารถพูดเป็นประโยคได้สมบูรณ์ นับเลขได้ รู้จักเวลา ชอบซักถาม
5 ปี มีความอยากรู้ อยากเห็น รู้จักใช้เหตุผลในการอธิบายข้อมูล
6 ปี พูดได้คล่องแคล่วช่างซักถาม ทำงานร่วมกับเพื่อนและผู้ใหญ่ได้

        1.3 วัยเรียน

                    วัยเรียน คือ วัยที่มีอายุตั้งแต่ 6-12 ปี มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านร่างกาย
มีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ร่างกายขยายออกทางส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้าง น้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2-3 กิโลกรัม ส่วนสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4-5 เซนติเมตร โดยส่วนใหญ่เพศหญิงจะตัวโตกว่าเพศชายวัยเดียวกัน
มีกล้ามเนื้อแข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว
สามารถใช้มือและนิ้วทำงานได้ดี
ด้านจิตใจและอารมณ์
ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
มีอารมณ์โกรธเมื่อถูกล้อเลียน
มีอารมณ์กลัวน้อยลง
รู้สึกอิจฉาเพื่อนที่ได้รับความรักหรือความสนใจ
ด้านสังคม
ชอบรวมตัวเล่นกันเป็นกลุ่ม ไม่ชอบอยู่คนเดียว
เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ภายใต้กฎ ระเบียบ
รู้จักเห็นอกเห็นใจช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มมีความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม
ด้านสติปัญญา
มีความคิดที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล
เปรียบเทียบสิ่ง 2 สิ่งได้
มีความอยากรู้อยากเห็น
อ่านและเขียนหนังสือได้คล่อง
อ่านและเขียนหนังสือได้คล่อง



ขอบคุณข้อมูลจากเวป โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ


25
10 ไอเดีย เล่นกับลูก เสริมสร้างพัฒนาการ ยามว่าง
 
วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

1.มาทายคำถามเล่นกันเถอะ คุณแม่ถือโอกาสนี้สอนให้ลูกรู้จักสิ่งรอบตัว เช่น ห้องอะไรเอ่ย ที่คุณแม่เข้าไปทำกับข้าวให้เราทาน ถ้าเราจะเดินออกไปนอกบ้าน ต้องใส่อะไรก่อนเอ่ย คำถามเหล่านี้ จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กรู้จักคิด หาคำตอบด้วยตัวเอง คุณแม่ควรสร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน อาจมีการแข่งให้วิ่งหาสิ่งของ หรือไปยังบริเวณนั้นๆ ก็สนุกไม่เลว ที่สำคัญ อย่าลืมชมเชยเมื่อลูกน้อยตอบคำถามถูก เค้าจะรู้สึกอิ่มเอิบใจและสนุกกับการคิดหาคำตอบต่อไป

 

2.นิทานแสนสนุก เสริมสร้างจินตนาการ คุณแม่รู้มั้ยคะว่า ลูกวัยเล็ก จะมีโลกจินตนาการที่ตัวเค้าวาดภาพไว้เอง นิทานเป็นอีกหนึ่งกุญแจที่ช่วยไขประตูแห่งจินตนาการแต่ละบาน ช่วยเสริมให้โลกของเค้าสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น คุณแม่อาจเริ่มจากนิทานทั่วไป อ่านเรื่องเดิมซ้ำๆทุกคืน แล้วลองแกล้งอ่านผิดดู ลูกน้อยจะรีบค้านขึ้นมาทันที เพราะเค้าจำท้องเรื่องได้ อย่าว่าแต่รู้ว่าเรื่องเป็นยังไงเลย แค่คุณแม่อ่านคำพูดผิดแค่คำเดียว เค้ายังรู้เลยค่ะ และหากเค้าเริ่มเบื่อนิทานเดิมๆที่มี คราวนี้ คุณแม่ลองมาร่วมจินตนาการไปกับลูก โดยเล่านิทานที่คุณแม่แต่งเอง และชวนลูกน้อยให้ต่อเติมนิทานไปด้วยกันซะเลย


3.เล่นเงาในตอนกลางคืน ช่วยเสริมสร้างจิตนาการ สร้างเรื่องราวให้ลูกน้อยได้คิดตาม คุณแม่ลองดึงจินตนากรลูกออกมาจากหนังสือ แล้วใช้เงาเป็นตัวละครในเรื่องแทน การเล่นนี้ยังช่วยให้ลูกไม่กลัวความมืดอีกด้วย


4.เปิดวีดีโอเพลง เสริมทักษะภาษา ในยุคโซเชียลแบบนี้ เพียงแค่คุณแม่มีสมาร์ททีวี แท็บเล็ต หรือมือถือ ก็สามารถสร้างบรรยากาศภายในบ้าน ให้เต็มไปด้วยเสียงเพลงสนุกสนานได้แล้ว จะให้ดี ลองเปิดวีดีโอเพลงสำหรับเด็ก อาจเริ่มด้วย ABC song, head shoulder knee and toe ฯลฯ ให้ลูกดู วีดีโอเหล่านี้จะมีการสอดแทรกความรู้ พร้อมทั้งทักษะภาษา ลงในเสียงเพลง ครั้งแรกเค้าอาจนั่งดูเฉย เพราะอยู่ในช่วงสังเกตและจดจำ พอดูซ้ำๆ เค้าจะจำได้ เริ่มพูด เริ่มทำท่าเลียนแบบ คุณแม่อาจกระตุ้นด้วยการปรบมือเป็นจังหวะตามเพลง พร้อมกับชี้อวัยวะตามในวีดีโอ หรือหากเป็นคุณแม่สายฮา ก็ชวนลูกเต้นไปซะเลยจ้า


5.ทำของเล่นเอง จากสิ่งของเหลือใช้รอบตัว การจะหาของเล่นมาให้ลูกน้อย ไม่จำเป็นต้องซื้อเสมอไป คุณแม่รู้มั้ยคะว่า สิ่งของรอบตัวเราก็สามารถนำมาทำเป็นของเล่นได้ โดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้อให้เปลืองเลย อย่างเช่น นำกล่องที่ไม่ใช้แล้ว มาต่อกันเป็นหุ่นยนต์ รถยนต์ หรือถ้าโชคดีได้กล่องไซส์ใหญ่มา ก็นำมาทำเป็นบ้านให้ลูกน้อยได้เข้าไปนั่งเล่น และใช้สีตกแต่งกล่องให้เป็นบ้านในฝัน การทำของเล่นเองนี้ เป็นการสอนให้ลูกรู้จักมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง อีกด้วย


6.จ๊ะเอ๋ – ซ่อนแอบ หรรษา อีกการเล่นหนึ่งที่ลูกไม่มีวันเบื่อก็คือ การเล่นจ๊ะเอ๋ ถ้าลูกน้อยเริ่มโตขึ้นมาหน่อยก็พัฒนาเป็นการเล่นซ่อนแอบนั่นเอง การเล่นนี้ นอกจากจะช่วยให้เค้ารู้จักการคาดเดาว่าคนซ่อน น่าจะอยู่ที่ไหนแล้ว ยังเป็นการสอนให้เค้ารู้จักรอคอย (เวลาคนไปซ่อน หรือรอให้คนหามาพบ) ด้วย


7.การพูดคุย ถาม-ตอบ อ๊ะ อ๊ะ!!! อย่าเพิ่งงงไปว่า การพูดคุยแค่นี้จะเป็นการเล่นไปได้ยังไง คุณแม่ลองถามคำถามให้ลูกคาดเดาเหตุการณ์ต่อไปดู บางครั้ง เราจะได้คำตอบขำๆ หรืออาจได้คำตอบที่นึกไม่ถึงเลยทีเดียว อย่างเช่น ลูกรู้มั้ยว่า นกตัวนี้กำลังจะบินไปไหน? เด็กบางคนอาจจะตอบทั่วๆไปว่า “กำลังจะกลับบ้าน” เด็กบางคนอาจตอบไปตามจินตนาการของเค้าว่า “ไป 7-11” คุณแม่อาจนึกขำในใจ แต่สำหรับเด็กบางคน เค้าอาจมองลึกไปกว่านั้น และคำตอบที่ได้รับนั้นอาจทำให้คุณแม่อึ้งไปเลยทีเดียว


8.สร้างสรรค์จินตนาการไม่รู้จบ ด้วยการปั้นแป้ง เพราะลูกน้อยมีโลกจินตนาการเป็นของตัวเอง แอดมินได้พบกับตัวเอง โดยให้แป้งโดว์สีแดงกับลูกก้อนหนึ่ง หวังให้เล่นถ่วงเวลาระหว่างทำงาน สักพักเค้ากลับมาพร้อมกับผลงาน ที่ดูคล้ายสเตอร์เบอร์รี่ รูแต่ละรูที่เป็นลายตาของสเตอร์เบอร์รี่ ถูกทำโดยใช้ปากกา กดให้เป็นรู แอดมินถึงกับอึ้งในการรู้จักใช้สิ่งรอบตัวมาสร้างสรรค์จินตนาการของเค้าให้เป็นรูปเป็นร่าง ตอนนั้นเค้าแค่ 1 ขวบเท่านั้นเอง คุณแม่ลองดูนะคะ บางทีอาจได้ชมผลงานที่ไม่คาดฝันก็เป็นได้


9.แต่งเติมสีสันด้วยมือน้อยๆของเจ้าตัวน้อย คุณแม่ลองหากระดาษใหญ่ๆมาให้ลูกซักแผ่น แล้วให้ลูกแต่งเติมสีสันด้วยมือของเค้าเอง แต่และสี แต่ละเส้นที่วาดลงไป จะช่วงเสริมสร้างพัฒนาการทางความคิด เพิ่มจินตนาการได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าคุณแม่ต้องประกบคู่ไปด้วย ไม่ได้ให้ตีกรอบวาดสิ่งที่คุณแม่คิดนะคะ แต่เพิ่มเติมเต็มให้สิ่งที่เค้าวาด ดูเป็นรูปเป็นร่าง และสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น หากลูกยังเล็ก อาจเริ่มจากสีเทียน หรือสีไม้ก่อน และเมื่อลูกโตขึ้น ค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำ ที่มีความซับซ้อน มากยิ่งขึ้นไปอีก


10.สร้างพลานามัยที่แข็งแรง ไปพร้อมๆกับการเล่น ด้วยกีฬา เด็กที่เล่นกีฬา ย่อมมีสุขภาพที่ดีอยู่แล้ว คุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกน้อยรู้จัก และลองเล่นกีฬาหลายๆอย่าง เพื่อดูว่าเค้าถนัด หรือชอบกีฬาชนิดไหนมากที่สุด แล้วส่งเสริมทางนั้นไปเลย ถ้าเค้ามีความสามารถด้านนั้นอยู่แล้ว ดีไม่ดี ลูกตัวน้อยๆของคุณแม่ อาจกลายเป็นนักกีฬาโอลิมปิกในอนาคตก็เป็นได้

นอกจาก 10 ไอเดียด้านบนนี้ ยังมีการเล่นแบบอื่นๆอีกมากมาย ที่คุณแม่สามารถเลือกมาเล่นกับลูก อาจต่อยอด นำไปหาวิธีการเล่นที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของบ้าน ให้เจ้าตัวน้อยได้เติบโตไปพร้อมกับเสียงหัวเราะ เพิ่มพูนจินตนาการ ที่สำคัญคือ สร้างความอบอุ่นในครอบครัวไปพร้อมๆกันค่ะ




ขอบคุณข้อมูลจากเวป  babekits.com


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ


26
10 อาการประหลาด ที่อาจพบได้ในทารกแรกเกิด ตอนที่2

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่


6. การเคลื่อนไหวกระตุกแบบไม่มีสาเหตุ
การกระตุกแบบไร้สาเหตุและการเหวี่ยงแขนขาแบบกระตุกของทารกอาจทำให้ดูสั่นเล็กน้อยในตอนแรก แต่พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกอย่างมีที่มาของมัน ในช่วง 2-3 เดือนแรกนั้น ทารกจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงการเสริมสร้างปฏิกิริยาสะท้อนกลับ บางทีคุณอาจเห็นว่ามันเกิดขึ้นแบบสุ่มหรืออาจเกิดขึ้นหลังจากที่ทารกได้ยินเสียงดัง แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ปฏิกิริยาสะท้อนกลับจะเริ่มสงบลงประมาณ 3-4 เดือน ในระหว่างนี้คุณอาจต้องการนำทักษะการห่อตัวไปใช้ประโยชน์ ทารกมักจะสะดุ้งตื่น และการห่อตัวจะช่วยให้ทารกนอนหลับสนิทมากขึ้น

เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: จริงๆแล้วคุณควรกังวลก็ต่อเมื่อทารกไม่แสดงอาการกระตุกหรือเกร็ง การไม่แสดงอาการเหล่านั้นอาจหมายความว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้องนัก ดังนั้น หากทารกไม่แสดงอาการเหล่านี้ให้ปรึกษาแพทย์ของคุณ

[ur=https://www.baby8slot.com/l][/url]

7. รูปทรงศีรษะแปลก ๆ
ทารกทำงานล่วงเวลาเพื่อลงไปในช่องทางที่จะคลอด และหลังจากการเดินทางครั้งนั้นไม่น่าแปลกใจที่พวกเขาออกมาเป็นสีม่วงและดูบวมทั้งหมด เนื่องจากศีรษะของทารกน้อยนุ่มและอ่อนตัวได้ในช่วงแรก การลอดตัวผ่านกระดูกเชิงกรานของคุณอาจทำให้เกิดการแฟบได้อย่างแน่นอน หากไม่เกิดขึ้นระหว่างการคลอด ทารกอาจมีจุดแบนในภายหลังจากการนอนหงายมากเกินไป หากคุณสังเกตเห็นสิ่งนี้ให้ลองอุ้มทารกไว้ในอ้อมแขนของคุณให้มากขึ้น หรือเพิ่มเวลาให้ทารกได้นอนคว่ำเมื่อเขาตื่น และสลับตำแหน่งที่คุณวางของเล่น เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

อาการประหลาด - หัวเบี้ยว
มีหมวกกันน็อคที่ช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้
เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: หากคุณลองทำทุกอย่างแล้วแต่ศีรษะของทารกยังดูแบนอยู่ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ของคุณ พวกเขาอาจต้องสวมหมวกกันน็อคชั่วคราวเพื่อแก้ไขรูปร่างของศีรษะ หมวกกันน็อคจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากสวมใส่เร็วที่สุดตั้งแต่ 4-6 เดือน ดังนั้น อย่ารอนานเกินไปที่จะพูด หากคุณรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ

8. อวัยวะเพศบวม
ไม่มีวิธีที่ละเอียดอ่อนในการพูดถึงเรื่องนี้ หากคุณเพิ่งให้กำเนิดเด็กชาย คุณอาจสังเกตเห็นชิ้นส่วนของเขามีขนาดใหญ่กว่าที่คุณคาดไว้อย่างมาก โดยเฉพาะอัณฑะ ทารกอาจได้รับผลกระทบจากการได้รับฮอร์โมนในท้องก่อนคลอด หรืออาจมีของเหลวสะสมมากขึ้นในถุงรอบ ๆ อัณฑะของเขา แต่ไม่ต้องกังวล เขาจะขับมันออกพร้อมกับฉี่ในอีกไม่กี่วัน เช่นเดียวกันกับทารกเพศหญิงของคุณซึ่งอาจมีอาการบวมเป็นเวลา 2-3 วันหลังคลอด ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดอาการบวมควรจะลดลงด้วยเวลาเล็กน้อย

เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: หากอาการบวมไม่ลดลงภายใน 2-3 วันหลังคลอด คุณควรได้รับการตรวจโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีทารกเพศชาย เด็กผู้ชายสามารถเกิดภาวะที่เรียกว่าถุงน้ำลูกอัณฑะ (Hydrocele) ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจใช้เวลาถึง 1 ปีในการแก้ไขด้วยตัวเอง


9. เลือดบนผ้าอ้อม
การสังเกตแม้แต่รอยเลือดที่เล็กที่สุดในผ้าอ้อมของทารกก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พ่อแม่มือใหม่ตกใจ แต่ความจริงก็คือมันไม่ได้ทำให้เกิดการเตือนภัยเสมอไป มีสาเหตุหลายประการที่อาจเกิดขึ้นซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นชั่วคราว หากคุณเพิ่งมีลูกผู้หญิง เธออาจกำลังประสบกับผลข้างเคียงบางอย่างจากการสัมผัสกับฮอร์โมนของคุณในมดลูก ไม่ต้องกังวล “ประจำเดือนน้อย ๆ” นี้เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในเด็กทารกที่ต้องถอนฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่วันหลังคลอด สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่หยาบเป็นพิเศษอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนหรือถูกบาดเล็กน้อย แต่เลือดควรจะจางลงอย่างรวดเร็ว

อาการประหลาด - เลือดออก
เพียงไม่กี่วันหลังคลอดรอยเลือดก็จะหายไป
เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: แม้ว่ามันอาจจะเป็นเรื่องปกติ เพื่อความปลอดภัยของคุณเอง เพียงโทรหาแพทย์ของคุณทุกครั้งที่คุณพบรอยเลือด


10. ตาเหล่
ในตอนแรกคาดว่าจะมีอาการตาเหล่เล็กน้อยในทารก ทารกยังคงพยายามแยกแยะความสามารถที่เพิ่งค้นพบทั้งหมด รวมถึงความสามารถในการมองเห็น และจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการควบคุมกล้ามเนื้อน้อย ๆ และฝึกฝนเทคนิคการโฟกัสเหล่านั้น แต่เชื่อหรือไม่ บางครั้งแม้ดวงตาของทารกอาจดูเหมือนกำลังไขว้กัน แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากดั้งจมูกที่กว้าง ผิวหนังส่วนเกินที่พับอยู่สามารถบังส่วนสีขาวบางส่วนของดวงตาของทารกได้ ลองดูให้ดีขึ้น รูม่านตาของทารกเรียงกันและขยับเข้าหากันจริงหรือ ?

อาการประหลาด - ตาเหล่
ถ้ายังไม่หายภายใน 6 เดือน อาจมีอาการตาขี้เกียจ
เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: หากทารกยังคงแสดงอาการตาเหล่ภายใน 6 เดือน คุณควรนัดหมายเพื่อดูว่ามีสิ่งอื่นหรือไม่ หากดวงตาของทารกเหล่าอย่างเรื้อรังในสองทิศทางที่แตกต่างกันอาจมีอาการตาเหล่ และหากมีตาเพียงข้างเดียวที่เหล่อาจเป็นตามัวหรือตาขี้เกียจ





ขอบคุณข้อมูลจากเวป motherhood.co.th


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ


27
10 อาการประหลาด ที่อาจพบได้ในทารกแรกเกิด ตอนที่1


พ่อแม่มือใหม่อาจรู้สึกกังวลเมื่อพบว่าทารกแรกเกิดมี “อาการประหลาด” ต่าง ๆ ในบทความนี้ เราจะบอกคุณเกี่ยวกับอาการเหล่านั้น ที่พวกเขาอาจจะไม่เคยบอกให้คุณรู้มาก่อนที่โรงพยาบาล


แน่นอนว่าหนังสือและชั้นเรียนที่คุณเคยเข้าได้เตรียมความพร้อมให้คุณไว้สำหรับสิ่งสำคัญ ๆ แล้ว แต่อาการแปลก ๆ บางอย่างที่ทารกน้อยมีก็อาจทำให้คุณตกใจหรือเป็นกังวลได้ ก่อนที่คุณจะวิ่งไปที่โทรศัพท์เพื่อโทรหากุมารแพทย์ เราได้สรุปเกี่ยวกับอาการที่แปลกประหลาด แต่เป็นเรื่องปกติโดยสิ้นเชิงที่คุณจะคพบได้ในทารกแรกเกิดตัวน้อยของคุณในไม่ช้าก็เร็ว


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่



1. ไขบนหนังศีรษะ
ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ไขบนหนังศีรษะอาจจะดูแปลก ๆ เล็กน้อย แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา พวกมันมาได้ยังไง ? จริง ๆ แล้วไม่มีใครรู้แน่ชัด ข่าวดีก็คือความแห้งกร้านหรือรอยแตกพวกนั้นจะหายไปเองภายใน 2-3 เดือนแรกของทารก (แต่สำหรับบางคนที่มีการลามไปทั่วอาจใช้เวลานานกว่านั้น) ในระหว่างนี้ ให้ลองถูเบบี้ออยล์บนบริเวณที่แห้ง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ให้ทำเป็นกิจวัตรก่อนอาบน้ำทารกและขูดเกล็ดเหล่านั้นออกด้วยหวีซี่ละเอียด


อาการประหลาด - cradle cap
ไขเหล่านี้สามารถกำจัดออกเองได้ไม่ยาก
เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: โชคดีที่คุณไม่ต้องกังวลมากเกินไปกับเรื่องนี้ โดยพื้นฐานแล้วไม่มีอะไรมากไปกว่าผื่นทั่วไป แต่ถ้ามันลุกลามเกินบริเวณหนังศีรษะของทารก หรือดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ให้ปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับการใช้ยาทาตามใบสั่งแพทย์


2. อึระเบิด
โอเค เราอาจจะใช้คำว่า “ระเบิด” ให้ดูเกินจริงไปหน่อย แต่ความจริงก็คือคุณยังไม่ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในการเป็นพ่อแม่จนกว่าคุณจะต้องรับมือกับการระเบิดผ้าอ้อม 1-2 ครั้ง กล่าวอีกนัยหนึ่ง คุณไม่ใช่คุณแม่คนแรกที่ทำความสะอาดอึที่เปื้อนผนังห้องนอน อึของทารกแรกเกิดส่วนใหญ่เป็นของเหลวที่มีเนื้อสัมผัสคล้ายเมล็ดมัสตาร์ดผสมอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่ต้องใช้พลังมากนักในการขับเคลื่อนพวกมันไปทั่วห้อง

เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: ตราบใดที่มีสี (ตั้งแต่สีน้ำตาล สีเขียว จนถึงสีเหลือง) และมีสิ่งคล้ายเมล็ดอยู่ในนั้น อึของทารกก็ยังดีอยู่ แต่ถ้าคุณเห็นสัญญาณของเลือด ก็รีบโทรปรึกษาแพทย์ได้เลย


3. มีหน้าอก
จำฮอร์โมนที่บ้าคลั่งที่รบกวนการตั้งครรภ์ทั้งหมดของคุณได้หรือเปล่า พวกมันก็ให้ผลมายังลูกด้วย และน่าเสียดายที่ผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของการที่อยู่ในท้องมาถึง 9 เดือน อาจจะเป็นหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น การที่ทารกได้รับฮอร์โมนของคุณมักจะทำให้เนื้อเยื่อเต้านมพัฒนาขึ้น เนื่องจากต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่ฮอร์โมนจะเสื่อมสภาพ แต่อย่าเครียด โดยทั่วไปแล้วพวกมันไม่มีอะไรต้องกังวล และมันควรจะหายไปทันเวลา

อาการประหลาด - ฮอร์โมน
ฮอร์โมนส่วนเกินบางครั้งก็ส่งต่อมาถึงทารกได้เช่นกัน
เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: สังเกตเห็นรอยแดงรอบ ๆ เต้านมของทารกหรือไม่ ? หากเป็นเช่นนั้น ให้เช็คอุณหภูมิของทารกเพื่อดูว่ามีไข้หรือไม่ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของบางสิ่งบางอย่างที่ร้ายแรงกว่า และมีเหตุผลที่จะต้องพาไปตรวจ


4. เสียงครวญครางแปลก ๆ
หากคุณคาดหวังว่าจะมีเสียงแค่เพียงเล็กน้อยและร้องไห้ออกมาเป็นครั้งคราว ขอให้คุณคิดใหม่ มันมีทั้งเสียงฮึดฮัด คร่ำครวญ เสียงกร้าว และเสียงตลกอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณจะได้ยินจากพวกเขา เสียงแปลก ๆ เหล่านี้เกิดจากทางเดินจมูกของทารกค่อนข้างแคบในระยะแรกเกิด ทำให้น้ำมูกที่ติดอยู่ในนั้นไปสร้างเอฟเฟกต์เสียงเพิ่มเติม ดังนั้น หากคุณเคยได้ยินเสียงซิมโฟนีเมื่อเร็ว ๆ นี้คุ ณอาจต้องใช้เวลามากขึ้นในการล้างจมูกของทารกด้วยเครื่องดูดน้ำมูก

เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: สังเกตว่าทารกทำเสียงขณะหายใจแต่ละครั้งหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาอาจมีปัญหาในการหายใจ ให้โทรหากุมารแพทย์ของคุณโดยเร็ว


5. จามอย่างต่อเนื่อง
อย่าลืมว่าทารกยังใหม่สำหรับโลกนี้และทุกสิ่งในโลกนี้ และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อหลายสิ่งที่คุณเคยมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว ดังนั้น หากทารกจามเป็นพายุ แต่ไม่ได้ป่วยจริง ๆ พวกเขาอาจพยายามขับไล่สิ่งแปลกปลอมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เข้ามาทางจมูกของพวกเขา การมองไปที่แสงก็เป็นการปรับตัวเช่นกัน ดังนั้น หากคุณพาลูกออกไปข้างนอกในวันที่แดดจ้าและพวกเขาเริ่มจาม จริง ๆ แล้วอาจเป็นเพราะดวงอาทิตย์ ไม่ใช่อาการแพ้ สาเหตุอื่น ๆ ของการจามอาจเกิดจากการกำจัดเมือกส่วนเกินหรือแม้แต่น้ำคร่ำออกจากทางเดินหายใจ

เมื่อไหร่ที่ควรกังวล: หากการจามของทารกเกิดร่วมกับการหายใจดังเสียงฮืด ๆ ให้กุมารแพทย์ของคุณตรวจดูว่าอาจเป็นอาการแพ้หรืออย่างอื่นที่ต้องได้รับการรักษาหรือไม่ คุณต้องแน่ใจว่าการหายใจของทารกเป็นปกติ การกลืนเป็นปกติ และปอดโล่ง เพื่อที่จะแยกแยะสิ่งที่ร้ายแรงออกไป




ขอบคุณข้อมูลจากเวป motherhood.co.th


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ


28
เรื่องน่ารู้ของเหล่าคุณแม่ กับคุณประโยชน์ที่ต่างกันของ นมจากคุณแม่กับนมผง


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่


เป็นเรื่องที่รู้กันมานานในกลุ่มคนที่กำลังสร้างครอบครัวและเหล่าคุณแม่ ถึงเรื่องของการให้นมลูก ตั้งแต่ในวัยแรกเกิดจนเป็นทารก ว่าการให้นมในรูปแบบใดที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกน้อยมากที่สุด รวมทั้งความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการให้ลูกกินนมแม่ จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง



ระหว่างนมจากคุณแม่กับนมผง
น้ำนมจากอกแม่ กับความเชื่อที่ผิด
คุณแม่มือใหม่และไม่ใหม่หลาย ๆ ท่าน อาจมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการให้นมแม่ว่า สารอาหารในน้ำนมจากเต้าของแม่นั้น จะลดน้อยลงและไม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อเด็กอ่อนที่มีอายุ 1 ปี ขึ้นไป ซึ่งไม่เป็นความจริง

พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กล่าวว่า น้ำนมแม่นั้นสามารถใช้ดูแลลูก ๆ ได้นถึงอายุ 2 ปีครึ่ง หรือสูงสุดคือ 7 ปี โดยในช่วงแรกเกิด 6 เดือนแรกให้กินนมแม่ล้วน หลังจากทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ให้เริ่มทานอาหารเสริมควบคู่กับนมแม่ 1 มื้อ, 9 เดือน กินอาหารเสริม 2 มื้อ และอายุ 1 ปี กินอาหารเสริม 3 มื้อ เมื่อทารกอายุครบ 1 ปี ควรเริ่มให้ทานข้าวเป็นอาหารหลัก และยังสามารถทานนมแม่เสริมได้เรื่อย ๆ


สำหรับคุณแม่ท่านใดที่อาจไม่พร้อมต่อการให้นมลูกหรือไม่มีเวลาปั๊มน้ำนมเตรียมเอาไว้อย่างเพียงพอ สามารถใช้นมผงเสริมได้ แต่ควรเลือกสูตรที่ลูกน้อยจะไม่เกิดอาการแพ้ และมีราคาไม่แพง


เพราะเหตุใด นมแม่จึงดีต่อลูกน้อยมากกว่า
เด็กวัยแรกเกิด ในช่วง 6 เดือนแรก การทานนมแม่เพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดแล้วสำหรับเด็กในวัยนี้ ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

ไร้สารปนเปื้อน
นมแม่นั้นออกมาจากร่างกายของแม่โดยตรง ต่างจากนมผงที่อาจมีกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรและผ่านหลายขั้นตอนกว่าจะเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อย นมแม่จึงมั่นใจในความสะอาดและไร้สารเคมีปนเปื้อนได้มากกว่า

สารอาหารครบถ้วน
นมแม่มีสารอาหารที่ร่างกายของลูกน้อยต้องการอย่างครบถ้วน และย่อยง่าย ลดอาการท้องอืดจากนมในเด็กแรกเกิด จึงสามารถทานได้เรื่อย ๆ ตามที่เด็กต้องการ

ภูมิคุ้มกัน
นมแม่มีส่วนประกอบของเม็ดเลือดขาว และแอนติบอดี้ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันชั้นดีให้กับลูก นอกจากนี้ นมแม่ยังมีเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร ดีต่อระบบขับถ่าย และฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต

ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
ร่างกายของเด็กวัยแรกเกิดในช่วง 6 เดือนแรก เป็นช่วงที่ยังไม่ควรรับอาหารประเภทอื่นนอกจากนมแม่ เพราะอาหารอื่นอาจทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดภูมิแพ้ได้ เนื่องจากโครงสร้างร่างกายของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กได้

ความเสี่ยงจากการเลี้ยงลูกด้วยนมผง
สำหรับคุณแม่ท่านใดที่ไม่สามารถให้นมลูกด้วยตนเองได้ หรือมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้นมผงในการเลี้ยงลูก ต้องระมัดระวังความเสี่ยงเหล่านี้

โรคท้องเสียในเด็ก
ในนมผงมีสารบางจำพวกที่มีผลทำให้ภาวะกรด ด่าง ในลำไส้ใหญ่ของเด็กไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อดีที่เป็นตัวช่วยในการป้องกันอันตรายจากการก่อตัวของเชื้อโรคในลำไส้ใหญ่ จึงเสี่ยงทำให้เกิดโรคท้องเสียในเด็ก

ภาวะภูมิแพ้
เพราะการให้เด็กทารกกินนมผง อาจเป็นการนำโปรตีนแปลกปลอมเข้ามาสู่ร่างกายลูก ซึ่งยังมีระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรง




ขอบคุณข้อมูลจากเวป motherhood.co.th


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

29
ของเล่นเสริมพัฒนาการ จำเป็นต่อพัฒนาการลูกจริงหรือ


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่



การจะเลือกของเล่นให้ลูกสักชิ้นนั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ใช่ สมัยนี้มีของเล่นมากมายที่ถูกโฆษณาว่าเป็น "ของเล่นเสริมพัฒนาการ" แต่ก็อย่างที่เรารู้ๆกันดี เศรษฐกิจยุคนี้ก็ใช่ว่าจะดีนัก การจะซื้ออะไรให้ลูกสุดที่รักเราก็ต้องเลือกแล้วเลือกอีกว่ามันดีจริง คุ้มค่ากับการลงทุน กับของเล่นประเภทเสริมทักษะและพัฒนาการสำหรับเด็กก็เช่นกัน มันสามารถช่วยสร้างเสริมพัฒนาการในตัวลูกเราได้จริงหรือ แล้วหลักในการเลือกของเล่นให้ลูกอย่างเหมาะสมตามวัยมีอะไรบ้าง
เบื้องต้นก่อนเลือกของเล่นให้ลูก

หากคุณพ่อคุณแม่เลือกของเล่นให้ลูกโดยที่ไม่ได้คัดสรรเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยเท่าไหร่นัก ก็อาจจะต้องเสี่ยงกับอันตรายที่จะเข้ามาถึงลูกน้อยได้ง่าย ทีมนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ ได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างเป็ดยางลอยน้ำของเล่นเด็กยอดนิยมมาทำการตรวจ โดยผลการทดลองพบว่า ภายในของเล่นนั้นมีจุลินทรีย์เกาะอยู่หนาแน่นมาก ซึ่งเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราจำนวนมากถึง 75 ล้านเซลล์ ต่อตารางเซ็นมิเมตร ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในที่ชื้นแฉะ และสามารถแพร่กระจายไปสู่เด็กๆได้ง่าย

นอกจากนี้งานวิจัยยังระบุอีกว่า แบคทีเรียหรือเชื้อราที่ปรากฏนั้นจะให้ผลที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเล่น รวมทั้งการดูแลรักษาที่แตกต่างกันในแต่ละครอบครัว อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วนักวิจัยพบว่ามีแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่ Legionella และ Pseudomonas Aeruginosa ใน 80 เปอร์เซ็นต์ของของเล่นที่ทำการศึกษา

อันตรายอยู่ใกล้ตัวเด็กๆมากกว่าที่ผู้ใหญ่คิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในการเลือกของเล่นให้ลูก ต้องเลือกของที่ดีและมีคุณภาพ เพราะของเล่นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยได้มาก
ของเล่นเด็ก มีประโยชน์ยังไง?
ลูกน้อยตั้งแต่ช่วงอายุ 1-3 เดือนแรก อาจจะยังไม่สามารถเล่นอะไรได้มาก เพราะแต่ละวันของเด็กจะหมดไปกับการนอน และตื่นขึ้นมากินนมแม่ แต่เมื่อลูกอายุได้ 4 เดือน เขาจะเริ่มมีพัฒนาการร่างกาย เริ่มจะใช้มือไขว่คว้า เริ่มหัวเราะเวลาที่พ่อกับแม่เล่นด้วย ซึ่งช่วงเวลานี้คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มหาของเล่นที่เหมาะสมกับวัยมาให้ลูกเล่นได้ และเมื่อลูกน้อยโตขึ้นเรื่อยๆตามวัย ก็ค่อยขยับการ เลือกของเล่นให้ลูกที่เหมาะสมกับวัยของเขาต่อไป ซึ่งการเลือกของเล่นให้ลูก ถ้าพ่อแม่เลือกได้อย่างเหมาะสมก็จะเป็นผลดีต่อพัฒนาการของลูกในทุกๆด้าน

เลือกของเล่นให้ลูก วัยแรกเกิด - 6 เดือน
ของเล่นที่กระตุ้นการมอง ได้แก่ ของเล่นที่มีสีสันสดใสเพื่อดึงดูดสายตา เช่น โมบายลวดลาย
ของเล่นที่กระตุ้นการฟังเสียง ได้แก่ ของเล่นที่มีเสียง เช่น กล่องดนตรี ตุ๊กตาที่บีบให้มีเสียง
ของเล่นที่เสริมกล้ามเนื้อ ได้แก่ ของเล่นที่บีบหรือเขย่าแล้วเกิดเสียง ของเล่นที่ใช้มือสอดกำได้ ลูกบอลนุ่ม ตุ๊กตาผ้ารูปสัตว์ เพื่อส่งเสิมการใช้มือ ใช้นิ้วมือสำหรับหยิบจับสิ่งของ
ของเล่นที่เสริมสติปัญญา ได้แก่ หนังสือภาพ โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ที่อ่านให้ลูกฟัง
เลือกของเล่นให้ลูก วัย 6-12 เดือน
ของเล่นที่กระตุ้นประสาทสัมผัส ได้แก่ ของเล่นที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น เรียบ หยาบ นุ่ม แข็ง เพื่อกระตุ้นการสัมผัส
ของเล่นเสริมทักษะการสัมผัส ของเล่นที่ดูดหรือกัดได้ เช่น ยางกัดรูปทรงต่างๆ เพื่อกระตุ้นการรับรู้และช่วยลดอาการคันเหงือกของเด็กเมื่อฟันใกล้งอก
ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อ ได้แก่ ของเล่นประเภทลากจูง เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขา ของเล่นประเภท เล่นลูกบอลนุ่ม บล็อกไม้ใหญ่ๆ กล่องหยอดรูปทรงต่างๆ เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือในการหยิบจับสิ่งของ ของเล่นที่เขย่าให้เกิดเสียง เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
ของเล่นเสริมสติปัญญา ได้แก่ หนังสือที่มีรูปภาพขนาดใหญ่สีสันสดใสซึ่งพ่อแม่ต้องอ่านให้ฟังหรือให้ลูกเปิดหนังสือด้วยตัวเองแล้วออกเสียงตาม ของเล่นลอยน้ำ เช่น หนังสือลอยน้ำ
เลือกของเล่นให้ลูก วัย 1-2 ขวบ
ของเล่นเด็กเสริมกล้ามเนื้อ ได้แก่ ของเล่นประเภทดันหรือลากจูง เพื่อช่วยพัฒนากล้ามเนื้อแขนขาในการทรงตัว และฝึกการบังคับทิศทางการเดิน
ของเล่นประเภททุบ ตอกหรือตี เช่น กลองที่มีเสียงต่างๆ ซึ่งนอกจากทำให้เด็กเรียนรู้ความแตกต่างของเสียงแล้ว ยังฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ และการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตาและมือด้วย
ของเล่นเสริมความคิดและสติปัญญา ได้แก่ กล่องหยอดรูปทรงเรขาคณิต เพื่อฝึกการสังเกตและเรียนรู้สี รูปทรงเลขาคณิต หนังสือภาพ เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และช่วยให้เด็กเรียนรู้ภาษา ดินน้ำมันหรือแป้งโด ช่วยฝึกสมาธิและความคิดสร้างสรรค์ ในการปั้นให้เป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ
เลือกของเล่นให้ลูก วัย 2-4 ขวบ
เสริมกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์ ได้แก่ ม้าโยก จักรยานสามล้อ ซึ่งนอกจากความสนุกสนานแล้วยังช่วยให้เด็กฝึกใช้กล้ามเนื้อแขน และขาในการทรงตัว รู้จักสร้างความสมดุลของร่างกาย ชุดฝึกร้อยลูกปัดขนาดต่างๆ เพื่อฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ รวมทั้งช่วยพัฒนาการทำงาน ของสายตาและมือให้สัมพันธ์กัน
ของเล่นเสริมความคิดและสติปัญญา ได้แก่ ชุดแท่งไม้สีสัน กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ในการวางแท่งไม้ซ้อนกันเป็นรูปแบบต่างๆ และส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งเรื่องสี รูปทรง และขนาด เป็นการฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา การลองผิดลองถูก ฝึกทักษะการสังเกต
ของเล่นเสริมบทบาทสมมติ ได้แก่ ชุดของเล่นเลียนแบบของจริง เช่น ชุดรวมมิตรผักผลไม้ สอนลูกให้เรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับผักผลไม้ ชุดบ้านตุ๊กตา ชุดเครนก่อสร้าง หรือชุดร้านค้า เป็นการสอนให้เด็ก รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและคนในสาขาอาชีพอื่นๆ
ลูกจะได้ประโยชน์จากของเล่นที่เหมาะสมอย่างไร?
ช่วยให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก สัมผัสจากมือและเท้า
ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น สามารถใช้สมาธิจดจ่อ และอยู่นิ่งได้นานขึ้น
ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดี จากการที่เด็กได้เล่นของเล่นที่เหมาะสมและถูกใจ
ช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้แก่เด็ก
ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม เมื่อเขาอยู่ในวัยที่สามารถเล่นกับคนอื่นๆได้ ควรส่งเสริมให้ลูกได้เล่นของเล่นกับเพื่อนๆ แถวบ้าน หรือกับญาติพี่น้องวัยไล่เลี่ยกัน เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกรู้จักแบ่งปัน การเสียสละ และการรอคอย
คุณพ่อคุณแม่รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าจะเลือกซื้อของเล่นให้ลูกครั้งใด อย่าลืมเลือกที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้เป็นหลักนะคะ จะได้เป็นการลงทุนอย่างคุ้มค่า รวมทั้งต้องดูแลให้เขาเล่นและใช้งานอย่างปลอดภัยด้วยเช่นกันค่ะ




ขอบคุณข้อมูลจากเวป motherhood.co.th


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

30
ของเล่นเสริมพัฒนาการมีความสำคัญอย่างไร

 

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

ของเล่นเสริมพัฒนาการ คืออะไร

ของเล่นเสริมพัฒนาการ หมายถึงสิ่งของที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็ก  สร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้านต่างๆและพัฒนาสมองให้เด็กจดจำได้มากขึ้น เช่น



ของเล่นเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นของเล่นประเภท ตุ๊กตาเขย่าให้มีเสียง รถเด็กเล่นสำหรับลากจูง หรือลูกบอล ช่วยให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องตัวมากขึ้น

ของเล่นเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่ ตุ๊กตามีเสียง ของเล่นประเภทเครื่องดนตรี หรือลูกบอล เป็นของเล่นที่มีลักษณะช่วยให้เด็กระบายความโกรธและลดความก้าวร้าวลงได้ ของเล่นประเภทตุ๊กตาตัวใหญ่ๆช่วยให้เด็กเกิดความอบอุ่นและมีเพื่อนเล่น

ของเล่นด้านเสริมการเรียนรู้ เป็นของเล่นที่เด็กต้องใช้การสังเกต การเลียนแบบ และการจดจำ เช่น ตัวต่อ ห่วงเรียงซ้อน ตัวอักษร หรือลูกบอลหลากสี

ของเล่นเสริมพัฒนาการด้านสังคม ของเล่นชนิดนี้เป็นของเล่นที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ลักษณะของเล่น เช่น ลูกบอล ของเล่นที่เป็นบทบาทสมมุติ เช่น อุปกรณ์เครื่องครัว ตุ๊กตาต่างๆ

วิธีเลือกซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการ

การเลือกซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อโดยมีหลัก 3 ประการ ดังนี้

 

เลือกของเล่นให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจพฤติกรรมการเล่น รู้ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย เพื่อเลือกของเล่นให้มีความยากง่ายเหมาะกับพัฒนาการการเล่นของเด็ก

เลือกของเล่นตามวัตถุประสงค์ เช่นต้องการกระตุ้นความสนใจและทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ หรือเลือกของเล่นที่สามารถเล่นได้หลาย ๆ คนเพื่อทำให้เด็กเรียนรู้สังคม จากการเล่นกับผู้อื่น

เลือกซื้อโดยคำนึงถึงวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาสร้างของเล่น วัสดุต้องคงทนแน่นหนา ไม่หลุดหรือแตกหักง่าย  ไม่แหลมคม ปลอดภัยสำหรับเด็ก  ทำความสะอาดได้ง่าย มีสีสันสดใสเพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก

การเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการที่ดี จึงนอกจากช่วยเสริมพัฒนาการให้กับเด็กในทุกๆด้านของเล่นเด็ก ยังสร้างความสนุกเพลิดเพลินทำให้ไม่ร้องไห้งอแงกวนใจพ่อแม่แล้ว ยังทำให้เด็กที่ติดของใช้ซึ่งเป็นปัญหากับสุขภาพของเด็ก ปรับเปลี่ยนมาติดของเล่นที่เป็นประโยชน์แทน

 

การเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกัน หากคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจะพบว่าพฤติกรรมของเด็กๆส่วนใหญ่จะเริ่มติดของเล่นหรือของใช้ในช่วงอายุ 10 เดือนจนถึง 1 ขวบ และช่วงนี้เป็นวัยที่กำลังเริ่มเรียนรู้ การเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการให้เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัย จึงเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ทำให้เด็กสนุกเพลิดเพลินและเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

31
15 ท่าบริหารร่างกายหลังคลอด & การออกกำลังกายหลังคลอด ตอนที่ 2

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่


9.ท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง อก สะโพก และช่วยขับน้ำคาวปลา ให้คุณแม่อยู่ในท่าคุกเข่า วางก้นที่ส้นเท้า ยกก้นขึ้นให้เข่าใกล้กับหน้าอกให้มากที่สุดจนเป็นท่าโก้งโค้ง เข่าทั้งสองข้างให้ห่างกันประมาณ 1 ฟุต หน้าอกจะต้องแนบกับพื้น (พยายามอย่ายกหน้าอก) แล้วพักอยู่ในท่านี้ประมาณ 2 นาที เมื่อเสร็จแล้วให้นอนคว่ำตัวราบกับพื้น ศีรษะไม่หนุนหมอน ให้น้ำหนักตัวตกอยู่ที่หน้าท้อง โดยใช้หมอนรองบริเวณหน้าท้อง 1 ใบเพื่อคลายความเมื่อย และให้นอนพักอยู่ในท่านี้ประมาณ 30 นาที ซึ่งท่านี้จะช่วยให้น้ำคาวปลาไหลออกดี และมดลูกกลับคืนสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น

 

10.ท่าบริหารกล้ามเนื้อทั่วตัว ให้คุณแม่คุกเข่าลงกับพื้น ฝ่ามือยันพื้น (เหมือนท่าคลาน) แล้วค่อยๆ ลดข้อศอกลงวางกับพื้น ก้มศีรษะให้คางจรดหน้าอก แขม่วท้อง เกร็งกล้ามเนื้อสะโพกและขา แล้วค่อยๆ ลดสะโพกลงแตะกับส้นเท้า ถอยหลังเล็กน้อย หน้าผากแตะพื้น ขณะนี้แขนจะถูกเหยียดตรง เสร็จแล้วให้ยกลำตัวกลับไปอยู่ท่าเดิม (ท่าคลาน) ในครั้งแรกไม่ต้องทำมาก เมื่อแข็งแรงแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งให้มากขึ้น จนครบ 10 ครั้งต่อวัน ท่านี้จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและช่วยให้มดลูกกลับคืนสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น

 

11.ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน เป็นท่าที่ช่วยกระชับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้หดตัวเร็วขึ้น โดยให้คุณแม่เริ่มต้นด้วยท่าคลานสี่ขา แยกขาห่างจากกันประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้มือทั้งสองข้างยันพื้นไว้ แล้วค่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักเพื่อดึงกล้ามเนื้อเชิงกรานเข้ามา โค้งหลังให้สูงขึ้นเหมือนแมวกำลังทำท่าขู่ นิ่งในท่านี้สักครู่แล้วค่อยคลาย ในขณะที่คลายกล้ามเนื้ออย่าแอ่นหลังลง แล้วเริ่มต้นทำซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง

 

12.ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง ให้คุณแม่ยืนหลังตรงแยกขาออกจากกันประมาณ 30 เซนติเมตร ประสานมือทั้งสองไว้ด้านหลัง ผ่อนคลายสบายๆ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงอย่างช้าๆ จนลำตัวขนานกับพื้น แล้วยกแขนที่ประสานอยู่ด้านหลังให้สูงที่สุด หายใจเข้า หายใจออกลึกๆ 2-3 ครั้ง จึงเงยหน้าขึ้นอย่างช้าๆ และทำซ้ำอีกหลายครั้ง

 

13.ท่าบริหารกล้ามเนื้อแขนและไหล่ ให้คุณแม่ยืนตรง แยกขาห่างจากกันประมาณ 30 เซนติเมตร แขนทั้งสองเหยียดหงายขึ้นอยู่ด้านข้างหรือด้านหน้าลำตัว มือทั้งสองข้างกำดัมบ์เบลล์ให้ถนัดมือ (หากไม่มีดัมบ์เบลล์อาจหาอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีน้ำหนักมาใช้แทนกันก็ได้) ออกแรงยกขึ้นจนถึงระดับไหล่ จะยกแขนพร้อมกันทั้งสองข้างหรือยกแขนทีละข้างก็ได้ จากนั้นค่อยๆ วางแขนลงมาอยู่ในท่าเตรียม เพื่อเป็นการผ่อนคลาย ซึ่งท่านี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่กระชับยิ่งขึ้น

14.ท่าบริหารกล้ามเนื้อข้างลำตัว ให้คุณแม่ยืนตรง แยกขาห่างจากกันประมาณ 1 เมตร (พยายามยืนให้ตรง เชิงกรานจะได้ตั้งฉากกับพื้นช่วยให้กล้ามเนื้อยืดตัวดีขึ้น) มือซ้ายแตะแนบอยู่ที่สะโพก ค่อยๆ ยกมือขวาให้สูงขึ้นเหนือศีรษะ และเอนตัวตามไปทางซ้ายอย่างช้าๆ จนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อด้านข้างพร้อมกับหายใจเข้าลึกๆ แล้วนิ่งกลั้นหายใจไว้สักครู่หนึ่ง จากนั้นจึงยืดตัวตรงพร้อมกับหายใจออกและทำซ้ำกับด้านขวาอีกครั้ง

 

15.ท่าบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอด ในขณะที่นอนหรือนั่งให้คุณแม่ขมิบช่องคลอดหรือทวารหนักเหมือนกำลังถ่ายปัสสาวะแล้วหดทันที ให้ทำครั้งละ 5-10 นาที หรือขมิบให้ได้วันละ 200 ครั้ง ท่านี้เป็นท่าที่ไม่ต้องหาที่ทางหรือเปลี่ยนอิริยาบถมาทำครับ คุณแม่จึงสามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะในขณะทำงาน ให้นมลูก หรือกำลังดูแลลูกน้อยอยู่ก็ทำได้ แถมท่านี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในภายหลังได้อีกด้วย

 

หมายเหตุ : นอกจากที่กล่าวมานี้ยังมีท่าบริหารร่างกายหลังคลอดอื่นๆ อีกมากมาย เพราะนี่เป็นเพียงท่าง่ายๆ เท่านั้น (แต่ได้ผล) ในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด ในขณะที่มดลูกยังโตกว่าปกติ ผมยังไม่แนะนำให้ทำการบริหารร่างกายในท่านั่งนานๆ ท่ากระโดด หรือในท่ายืนมากๆ (แต่ไม่ใช่ว่าจะห้ามยืนนะครับ) เพราะจะทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำและกะบังลมเคลื่อนได้ง่าย แต่พอหลังจาก 6 สัปดาห์ไปแล้ว โดยทั่วไปมดลูกจะเข้าสู่สภาพเดิมคือมีขนาดเล็กลงและไม่หนัก คุณแม่จึงสามารถบริหารได้ทุกท่า รวมทั้งยังเล่นกีฬาอื่น ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งการบริหารร่างกายนี้ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนหลังคลอด แล้วคุณแม่จะพบว่านี่เป็นวิธีรักษาทรวดทรงให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างดีที่สุดแล้ว

 

ถ้าคุณแม่บริหารร่างกายหลังคลอดได้อย่างสม่ำเสมอแล้ว รูปร่างของคุณแม่ก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ และยิ่งถ้าได้ทำอย่างเต็มที่ เสื้อผ้าชุดเก่าๆ ก็จะใส่ได้เหมือนเดิม เมื่อกลับไปทำงานหรือพบเพื่อนฝูง เพื่อนๆ ก็จะแปลกใจและทักว่าคุณแม่ยังสวยเหมือนเดิม แต่ถ้าคุณแม่ปล่อยตัวไม่บริหารร่างกายเลย ก็อาจจะมีคนสงสัยได้ว่ายังไม่คลอดอีกหรือ เพราะหน้าท้องยังไม่เข้าที่และยื่นอยู่มาก ซ้ำร้ายบางทีอาจถูกนินทาไปเลยว่าคลอดลูกคนเดียวกลายเป็นพะโล้ไปซะแล้ว

 

 

 

ขอบคุณเวป medthai

เอกสารอ้างอิง

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด.  “การบริหารหลังคลอด”.  (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ)”.  หน้า 402-409.

หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ.  “บริหารร่างกายหลังคลอด”.  (รศ.พญ.สายฝน – นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์)”.  หน้า 276-277.

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

32
การอยู่ไฟ : ขั้นตอนการอยู่ไฟ & ประโยชน์ของการอยู่ไฟหลังคลอด ตอนที่ 3
 

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

 

การอยู่ไฟร่วมสมัย

การดูแลคุณแม่หลังคลอดด้วยการอยู่ไฟในปัจจุบันยังคงมีให้เห็นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด ซึ่งยังคงใช้รูปศัพท์เดิม คือ “การอยู่ไฟ” แต่วิธีการได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะการแพทย์สมัยใหม่ได้เข้ามาแทนที่ แต่ช่วงหลังได้มีการส่งเสริมให้มีการอยู่ไฟด้วยแพทย์แผนไทยประยุกต์กันมากขึ้น การอาบ-อบสมุนไพรจึงถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการอยู่ไฟด้วย ซึ่งหลักๆ จะประกอบไปด้วยการนวดประคบ การเข้ากระโจม อาบน้ำสมุนไพร และลงท้ายด้วยการนาบหม้อเกลือ (อาจมีบริการเสริมอื่นๆ ด้วยแตกต่างกันไป)



การนวดประคบ โดยใช้ลูกประคบร้อนที่ห่อไปด้วยสมุนไพรต่างๆ มากกว่า 10 ชนิด เช่น ขมิ้น ตะไคร้ การบูร ใบส้มป่อย เถาเอ็นอ่อน ฯลฯ มานวดคลึงตามบริเวณร่างกายและเต้านม หรือนั่งทับลูกประคบ 1 ลูก เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยและรักษาแผลหลังคลอด

 

การเข้ากระโจมและอบสมุนไพร ถือเป็นขั้นตอนหลักของการอยู่ไฟเลยก็ว่าได้ เพราะการเข้ากระโจมอบไอน้ำด้วยสมุนไพรนานาชนิดจะช่วยให้รูขุมขนได้ขับของเสียและทำความสะอาดผิวให้เปล่งปลั่งขึ้น ในขั้นตอนนี้จะเป็นการอบตัวด้วยไอน้ำร้อนโดยให้คุณแม่หลังคลอดเข้าไปนั่งบนม้านั่ง แล้วเอาผ้าห่มทำกระโจมคลุมไว้ และส่วนใหญ่จะคลุมศีรษะไว้ด้วย อากาศภายในกระโจมนั้นจะอับมาก อาจโผล่หน้าออกมาได้ แล้วเอาหม้อน้ำที่ต้มเดือดไปใส่ไว้ภายในกระโจม ซึ่งในหม้อนั้นจะมีน้ำสมุนไพรเป็นสารระเหย เช่น มะกรูด ตะไคร้ (ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจคล่องขึ้น), ไพร (ช่วยลดอาการปวดเมื่อย), ขมิ้นชัน (ลดอาการเคล็ดขัดยอก), การบูร พิมเสน (ช่วยให้หายใจสดชื่น), ผักบุ้งแดง (ช่วยบำรุงสายตา), หัวหอมแดง, ใบมะขาม, ใบส้มป่อย, ใบส้มเสี้ยว, เปลือกส้มโอ และสมุนไพรอื่นๆ เพื่อให้สมุนไพรซึมผ่านผิวหนังเข้าไปบำรุงผิวพรรณและขับน้ำคาวปลาได้ดียิ่งขึ้น เมื่ออบตัวเสร็จก็จะเอาน้ำที่เหลือมาอาบหรือทาตัวภายหลังก็ได้ คุณแม่พอคิดสภาพตามแล้วอาจรู้สึกร้อนๆ แต่วิธีนี้ไม่มีอันตรายครับ ถ้าร่างกายโดยเฉพาะใบหน้าไม่ถูกไอน้ำร้อนนานเกินไป ซึ่งไม่น่าจะนานเกิน 15 นาที และคุณแม่ต้องระวังอย่าให้น้ำร้อนลวก วิธีนี้จะทำให้เหงื่อออกมากซึ่งจะเป็นการช่วยลดน้ำหนักไปด้วยในตัวครับ ส่วนคุณแม่ที่มีตู้อบไอน้ำอยู่ที่บ้าน ถ้ามีอยู่แล้วจะอบไอน้ำก็ได้ แต่อย่าให้นานเกินไป ควรใช้ครั้งละไม่เกิน 15 นาที วันละครั้งก็พอ เพราะถ้านานเกินไปอาจทำให้คุณแม่เป็นลมเนื่องจากร่างกายเสียเกลือแร่ไปมาก แต่ถ้าไม่มีตู้อบก็ไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อมาเพื่ออบตัวหลังคลอดครับ เพราะยังมีวิธีที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน เช่น การบริหารร่างกายหลังคลอด



สมุนไพรอยู่ไฟกระโจมอยู่ไฟ

การนาบหม้อเกลือ หรือ การทับหม้อเกลือ หรือ การนึ่งหม้อเกลือ เป็นขั้นตอนการใช้หม้อเกลือมาประคบหน้าท้องและตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมทั้งนวดไปด้วย ความร้อนจากหม้อเกลือจะช่วยให้รูขุมขนเปิด สมุนไพรซึมผ่านลงผิวหนังไปช่วยขับน้ำคาวปลาและของเสียออกมาตามรูขุมขน และช่วยให้มดลูกหดรัดตัวเข้าอู่เร็วขึ้น ซึ่งหม้อเกลือจะเป็นหม้อดินเล็กๆ ใส่เกลือเม็ดแล้วเอาไปตั้งไฟให้ร้อน แล้ววางบนใบพลับพลึง ใช้ผ้าห่อโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง ใช้ประคบหรือนาบไปตามตัวโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง เพื่อหวังจะให้หน้าท้องยุบลง ซึ่งก็ไม่ได้ผลดีเท่าไรครับ แต่การบริหารร่างกายจะช่วยได้มากกว่า เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่นาบหม้อเกลือ หนังหน้าท้องจะหย่อนเหมือนเดิม แถมคุณแม่หลังคลอดบางคนก็นาบด้วยหม้อเกลือจนผนังท้องดำไหม้อยู่ตลอดไป และผิวหนังจะเหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ก็มี ผมจึงขอแนะนำว่าถ้าขัดผู้ใหญ่ไม่ได้หรืออยากทำจริงๆ ก็ควรทำด้วยความระมัดระวัง ถ้าร้อนมากก็ต้องหยุดทำทันที ทางที่ดีไม่ควรทำเลยครับ อันตราย ส่วนการประคบด้วยลูกประคบที่ประกอบด้วยสมุนไพรชนิดต่างๆ ก็มีประโยชน์ครับถ้าไม่ร้อนมากจนเกินไป

 

การทับหม้อเกลือ

บริการอื่นๆ เช่น การประคบ-นั่งอิฐ เป็นการใช้อิฐมอญย่างไฟร้อนๆ ห่อด้วยใบพลับพลึงและผ้าหนาหลายชั้นมาประคบตามบริเวณร่างกายหรือวางไว้ใต้เก้าอี้เพื่อให้ความร้อนอังบริเวณปากช่องคลอด เพื่อสมานแผลให้หายเร็วขึ้น, การนวดคล้ายเส้นตามกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เช่นใบหน้า ศีรษะ ต้นขา ต้นแขน เพื่อให้กล้ามเนื้อคล้ายตัว กระตุ้นต่อมน้ำเหลืองและเลือดลม, การดื่มน้ำสมุนไพร อย่างการดื่มน้ำขิงซึ่งจะช่วยปรับสมดุลร่างกายและกระตุ้นเลือดลมให้เดินเป็นปกติ, การสครับขัดบำรุงผิว ด้วยการพอก ขัด ด้วยเกลือสะตุและสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อช่วยกระชับและบำรุงผิวที่แตกลาย เป็นต้น

 

อยู่ไฟหลังคลอด

อย่างไรก็ตาม การอยู่ไฟข้างต้นนี้เหมาะสำหรับคุณแม่หลังคลอดที่คลอดเองตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถอยู่ไฟได้เลยนับตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลหรือภายใน 3-7 วันขึ้นไป ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอดนั้นจำเป็นต้องรอและให้แผลแห้งสนิทก่อนประมาณ 30 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้แผลอักเสบในขณะทำการอยู่ไฟ สำหรับคุณแม่ที่สนใจจะอยู่ไฟ ก็จะมีศูนย์สุขภาพต่างๆ สปาสุขภาพ คลินิกแพทย์แผนไทย ไปจนถึงบริการอยู่ไฟถึงบ้านแบบเดลิเวอรี่ที่มีบริการดูแลหลังคลอด ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดเป็นระยะตั้งแต่ 3-10 วัน โดยจะเน้นเรื่องของความสวยความงามเป็นหลัก เช่น การลดไขมันหน้าท้อง การทำให้ผิวพรรณผ่องใส ซึ่งจะไม่เหมือนกับในสมัยก่อนครับ อย่างไรก็ดี การเลือกใช้บริการแต่ละอย่างนั้น คุณแม่จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยและความชำนาญของผู้ให้บริการด้วย และที่สำคัญการใช้บริการในแต่ละคอร์สค่อนข้างจะมีราคาสูงอยู่พอสมควร ทางที่ดีที่คุณแม่สามารถทำเองได้ง่ายๆ ก็คือ การอาบน้ำอุ่นที่บ้านที่ผสมด้วยสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น ตะไคร้ มะกรูด ผสมกับน้ำอาบก็ได้ครับ

 

สรุป ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของสูติกรรมโบราณที่ในสมัยนั้นยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างคลอดและหลังคลอด แต่ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือนาบหม้อเกลือนั้นไม่ได้ช่วยให้ร่างกายดีขึ้นเลย แถมยังเป็นอันตรายต่อคุณแม่อีกด้วย ถ้าเลือกได้ก็ไม่ควรทำครับ เพราะอาการอ่อนเพลีย ผนังหน้าท้องหย่อน มดลูกหดรัดตัวน้อยหรือเข้าอู่ช้านั้นไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการนาบหม้อเกลือ การบริหารร่างกายหลังคลอดต่างหากที่สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของคุณแม่ให้ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง เพราะช่วยให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี ผนังหน้าท้องและผนังช่องคลอดไม่หย่อน ถ้าคุณแม่บริหารร่างกายอย่างเต็มที่ก็จะทำให้เอวมีขนาดเล็กลงเกือบเท่าหรือเท่ากับระยะที่ยังไม่ตั้งครรภ์ น้ำคาวปลาก็หมดเร็ว แถมร่างกายก็แข็งแรงและกลับคืนสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียเวลาไปผ่าตัดทำสาวหรือเย็บช่องคลอดใหม่เนื่องจากช่องคลอดหย่อนด้วยครับ

 

 

 

ขอบคุณเวป medthai

เอกสารอ้างอิง

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด.  “การอยู่ไฟหลังคลอดและการอาบ-อบสมุนไพรจำเป็นหรือไม่”.  (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ)”.  หน้า 378-383.

ผู้จัดการออนไลน์.  “ไขความเชื่อ ‘การอยู่ไฟ’ ตัวช่วยฟื้นสุขภาพแม่หลังคลอด”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th.  [26 ม.ค. 2016].

 

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

33
การอยู่ไฟ : ขั้นตอนการอยู่ไฟ & ประโยชน์ของการอยู่ไฟหลังคลอด ตอนที่ 2


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่



อยู่ไฟ

คนส่วนใหญ่ในสมัยก่อนจะนิยมอยู่ไฟข้างมากกว่าอยู่ไฟแคร่ โดยสามีหรือญาติจะเป็นคนจัดเตรียมที่นอนสำหรับการอยู่ไฟและคอยดูแลเรื่องฟืนไฟที่จะต้องไม่ร้อนเกินไปให้ เพราะคุณแม่จะต้องอยู่ในเรือนไฟนานถึง 7-15 วัน และห้ามออกจากเรือนไฟโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้อุณหภูมิร่างกายของคุณแม่ปรับตัวไม่ทัน ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและไม่สบายได้ การอยู่เรือนไฟในสมัยก่อนนั้นคุณแม่หลังคลอดทุกคนจะต้องเข้าเรือนไฟที่สร้างเป็นกระท่อมหลังคามุงจาก แล้วเข้าไปนอนผิงไฟ พร้อมกับลูกน้อยที่จะเอาใส่กระด้ง ร่วมอยู่ไฟกับคุณแม่บนกระดานไม้แผ่นเดียวและจะต้องทำขาให้ชิดกัน เพื่อให้แผลฝีเย็บติดกัน ซึ่งคนโบราณจะเรียกว่า “การเข้าตะเกียบ” การอยู่ไฟอาจมีการนวดประคบด้วยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในคุณแม่แต่ละคน นอกจากนี้ในทุก ๆ วันคุณแม่ยังต้องอาบน้ำร้อนและดื่มเฉพาะน้ำอุ่น (ห้ามรับประทานน้ำเย็นหรือของเย็น ๆ) และงดอาหารแสลงหลายอย่าง ซึ่งอาหารหลักก็คือการกินข้าวกับเกลือหรือกับปลาเค็ม เพราะคนโบราณเชื่อว่าจะไปทดแทนเกลือที่ร่างกายต้องเสียไปทางเหงื่อที่ไหลออกระหว่างการอยู่ไฟได้



ส่วนทางภาคอีสานจะเรียกการอยู่ไฟว่า “อยู่กรรม” เพราะเชื่อกันว่าคุณแม่คนใดที่ไม่อยู่ไฟ ร่างกายจะผอมแห้ง ผิวพรรณซูบซีด ไม่มีน้ำนม กินผิดสำแดงได้ง่าย ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงของผู้หญิงในสมัยก่อน ส่วนจำนวนวันในการอยู่ไฟนั้น ถ้าเป็นการคลอดครั้งแรกจะอยู่นานกว่าคลอดครรภ์หลัง เมื่ออยู่ครบแล้วก็จะมีพิธีออกไฟในตอนเช้ามืด ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

 

การอยู่ไฟสมัยใหม่

ในบ้านเมืองและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป มีคนอยู่หนาแน่นมากขึ้น รวมทั้งสภาพห้องที่ต้องปิดมิดชิด การที่จะก่อไฟบนพื้นบ้านหรือพื้นห้องนอนจึงไม่สามารถทำได้เหมือนแต่ก่อน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือมีวิวัฒนาการไปตามสภาพสังคม ซึ่งการอยู่ไฟสมัยปัจจุบันนี้จะเปลี่ยนจากการให้ความร้อนทั่วตัวมาเป็นการให้ความร้อนเฉพาะบริเวณหน้าท้องโดยไม่ต้องสุมกองไฟ ที่ใช้กันอยู่ก็มี 2 วิธี คือ


ใช้กระเป๋าน้ำร้อน โดยนำกระเป๋าน้ำร้อนมาวางบริเวณหน้าท้อง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิวัฒนาการล่าสุดของการอยู่ไฟ การใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางก็เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้บ้าง แต่ถ้ากระเป๋าร้อนเกินไปหรือเกิดรั่วขึ้นมา หน้าท้องก็อาจจะพองได้เช่นกัน

ใช้ไฟชุด หรือ ชุดคาดไฟ เป็นชุดที่ประกอบไปด้วยกล่องอะลูมิเนียมสำหรับใส่ชุดซึ่งเป็นเชื้อไฟ เมื่อจุดไฟแล้วก็ใส่กล่องไว้ กล่องจะร้อน มีสายคาดรอบๆ เอว 3 – 4 กล่อง ลักษณะคล้ายกับสายคาดปืนในหนังคาวบอย บางทีถ้าร้อนมากเกินไปก็อาจทำให้ผิวหนังหน้าท้องพองได้ คุณแม่บางคนจึงพันผ้ารอบๆ กล่องจนหนาก่อนเพื่อป้องกันผิวหนังไหม้พอง

 

 

 

ขอบคุณเวป medthai

เอกสารอ้างอิง

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด.  “การอยู่ไฟหลังคลอดและการอาบ-อบสมุนไพรจำเป็นหรือไม่”.  (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ)”.  หน้า 378-383.

ผู้จัดการออนไลน์.  “ไขความเชื่อ ‘การอยู่ไฟ’ ตัวช่วยฟื้นสุขภาพแม่หลังคลอด”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th.  [26 ม.ค. 2016].



สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

34
การอยู่ไฟ : ขั้นตอนการอยู่ไฟ & ประโยชน์ของการอยู่ไฟหลังคลอด ตอนที่ 1


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่



การอยู่ไฟ

การอยู่ไฟหลังคลอด เป็นเรื่องคุ้นเคยกันดีและเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ของคนสมัยก่อน เพราะคนสมัยนั้นเชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัว สรีระ หรือหน้าท้อง ทำให้หลังคลอดคุณแม่มีอาการปวดเมื่อยหรืออักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหลังหรือที่ขา ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นวิธีดังกล่าว โดยอาศัยภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่หลังคลอด เพื่อปรับสมดุลในร่างกายให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว โดยใช้ความร้อนเข้าช่วย แต่สำหรับคุณแม่ยุคใหม่ในปัจจุบันอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกัน หรือยังไม่เคยเห็นว่าเขาทำกันอย่างไร และคุณแม่บางรายเกิดปัญหาว่าได้รับคำแนะนำหรือถูกบังคับโดยคุณย่าคุณยายให้อยู่ไฟหลังคลอดหลังออกจากโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งการอยู่ไฟจะมีประโยชน์และโทษอย่างไร แล้วสมควรจะทำหรือไม่นั้น ไปดูกันเลยดีกว่าครับ




การอยู่ไฟของคนไทยได้ทำสืบต่อกันมานานแล้ว จนบางคนเรียกระยะหลังคลอดว่า “ระยะอยู่ไฟ” แม้ในวรรณคดีของไทยอันเก่าแก่เองก็ยังกล่าวถึงเรื่องการอยู่ไฟด้วย เพราะเชื่อกันว่าการอยู่ไฟจะช่วยเพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยบรรเทาความปวดเมื่อยลงได้ และถือกันว่าเป็นการบำบัดโรคหลังคลอด ทำให้คุณแม่มีสุขภาพดีในภายหน้า เมื่อแก่ตัวลงก็ยังคงแข็งแรงเหมือนเดิม”




สาเหตุของการอยู่ไฟ

การอยู่ไฟเป็นกระบวนการดูแลหญิงหลังคลอดที่คนสมัยโบราณ “เชื่อว่าจะช่วยทำให้ร่างกายฟื้นจากความเหนื่อยล้าให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้โดยเร็ว โดยใช้ความร้อนเข้าช่วย ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นบริเวณหลังและขาที่เกิดจากการกดทับในขณะตั้งครรภ์ได้คลายตัว ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามตัว ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี ช่วยปรับสมดุลร่างกายของคุณแม่ให้เข้าที่ อาการหนาวสะท้านที่เกิดจากการเสียเลือดและน้ำหลังคลอดมีอาการดีขึ้น ทำให้มดลูกที่ขยายตัวได้หดรัดตัวหรือเข้าอู่ได้เร็ว พร้อมกับช่วยให้ปากมดลูกปิดได้ดี จึงป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูกหลังคลอด ทำให้น้ำคาวปลาแห้งเร็ว ลดการไหลย้อนกลับจนนำไปสู่ภาวะเป็นพิษ”




ในสมัยก่อนหมอตำแยจะไม่ได้เย็บแผลช่องคลอดที่ฉีกขาดจากการคลอด จึงต้องให้คุณแม่นอนบนกระดานแผ่นเดียวจะได้หนีบขาทั้งสองข้างไว้ ช่วยให้แผลติดกันได้ แต่เมื่อนอนไปนานๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดความอ่อนล้า เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อจะลุกก็อาจจะเป็นลมได้ จึงต้องมีการผิงไฟเพื่อช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงดีขึ้นตามไปด้วย และเชื่อกันว่าจะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วยิ่งขึ้นด้วยครับ




แต่ในสมัยปัจจุบันเมื่อคุณแม่คลอดลูกที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย เมื่อหมอทำคลอดให้เสร็จก็จะมีการเย็บซ่อมแผลที่ฉีกขาด หรือตัดช่องคลอดแล้วเย็บให้เรียบร้อย คุณแม่จึงไม่จำเป็นต้องนอนนิ่งๆ นานๆ แต่อย่างใด เพราะการที่ร่างกายไม่เคลื่อนไหวนั้นจะทำให้น้ำคาวปลาไหลไม่สะดวก คุณแม่จึงมีโอกาสติดเชื้ออักเสบในโพรงมดลูกได้สูงมาก นอกจากนี้การนอนอยู่นิ่งๆ นานๆ ในที่อับลมยังเป็นการเพิ่มความเครียดให้คุณแม่อีกด้วย จึงไม่เป็นผลดีแต่อย่างใด




ส่วนการที่ต้องผิงไฟอยู่ตลอดเวลา ร่างกายก็จะเสียเหงื่อไปมาก หมอตำแยจึงต้องให้คุณแม่กินข้าวกับเกลือหรือปลาเค็มเพื่อทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับเหงื่อ และสั่งให้งดอาหารแสลงหลายๆ อย่างด้วย เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ในการเสริมสร้างร่างกายของคุณแม่ในส่วนที่บอบช้ำจากการคลอด และยังมีประโยชน์ต่อการสร้างน้ำนมด้วย คุณแม่จึงไม่ควรงดของแสลงเหล่านี้อย่างที่ปฏิบัติกันมาแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าคุณแม่แพ้อาหารชนิดนั้นๆ อยู่แล้ว




การอยู่ไฟสมัยโบราณ

การอยู่ไฟมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดตามแต่จะนิยมกัน ซึ่งผู้คลอดจะนอนอยู่บนกระดานแผ่นใหญ่ที่เรียกว่า “กระดานไฟ” ถ้ายกกระดานไฟให้สูงขึ้นแล้วเลื่อนกองไฟเข้าไปใกล้ๆ หรือเอากองไฟมาก่อไว้ใต้กระดานก็จะเรียกว่า “อยู่ไฟญวน” หรือ “ไฟแคร่” (นอนบนไม้กระดาน ส่วนเตาไฟอยู่ใต้แคร่ มีแผ่นสังกะสีรองทับอีกที เหมือนการนอนปิ้งไฟดีๆ นี่เองครับ) แต่ถ้านอนบนกระดานไฟซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพื้นและมีกองไฟอยู่ข้างๆ จะเรียกว่า “อยู่ไฟไทย” หรือ “ไฟข้าง” (ก่อไฟอยู่ข้างตัวบริเวณท้อง) บ้างก็เรียกกันไปตามชนิดของฟืน ถ้าใช้ไม้ฟืนก่อไฟก็เรียกว่า “อยู่ไฟฟืน” (นิยมใช้ไม้มะขาม เพราะไม่ทำให้ฟืนแตก) แต่ถ้าใช้ถ่านก่อไฟก็จะเรียกว่า “อยู่ไฟถ่าน” และข้างๆ กองไฟมักจะมีภาชนะใส่น้ำร้อนเอาไว้เพื่อใช้ราดหรือพรมไม่ให้ไฟลุกแรงเกินไป





ขอบคุณเวป medthai

เอกสารอ้างอิง

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด.  “การอยู่ไฟหลังคลอดและการอาบ-อบสมุนไพรจำเป็นหรือไม่”.  (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ)”.  หน้า 378-383.

ผู้จัดการออนไลน์.  “ไขความเชื่อ ‘การอยู่ไฟ’ ตัวช่วยฟื้นสุขภาพแม่หลังคลอด”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th.  [26 ม.ค. 2016].



สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

35
การดูแลตัวเองหลังคลอด (กรณีผ่าคลอด) ตอนที่ 4


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่


คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด จะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากกว่าคุณแม่ที่คลอดตามปกติ เมื่อคุณแม่รู้สึกตัวหรือยาชาหมดฤทธิ์ก็จะต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดเป็นสิ่งแรก ถึงแม้คุณแม่จะเจ็บอย่างไรก็ควรพยายามเคลื่อนไหวหรือพลิกตัวบ่อยๆ เพราะจะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวตัวได้ดีขึ้นรวมทั้งป้องกันการเกิดพังผืดระหว่างอวัยวะในช่องท้องกับเยื่อบุช่องบริเวณผ่าตัด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการปวดท้องเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาดได้

เมื่อคุณแม่แข็งแรงพอที่จะลุกหรือยืนได้แล้ว อาการเจ็บแผลผ่าตัดจะสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการใช้ผ้ายางยืดแผลผ่าตัดไม่ให้ถูกดึงรั้งจากผนังหน้าท้องที่ยังหย่อนยาน เวลาที่คุณแม่จะเปลี่ยนอิริยาบถก็ค่อยๆ ทำโดยการงอเข่าเข้าหาตัวก่อนที่จะลุกหรือยืนเพื่อลดความตึงของหน้าท้อง แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดตึงแผลจะค่อยๆ ทุเลาลงหลัง 48 ชั่วโมง อาการปวดแผลสามารถทุเลาลงได้ เพียงทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลเท่านั้น

คุณแม่ที่คลอดโดยการผ่าคลอดนั้น ในระยะแรกจะยังอาบน้ำไม่ได้เพราะจะทำให้แผลผ่าตัดเปียก อาจติดเชื้อและเกิดการอักเสบได้ จึงต้องใช้วิธีเช็ดตัวประมาณ 7 วัน หลังจากหมอตัดไหมแล้ววันรุ่งขึ้นก็อาบน้ำได้ ถ้าเย็บไหมละลายก็รอจนครบ 6 – 7 วัน เปิดแผลแล้วก็อาบน้ำได้เลยตามปกติ แต่หลังอาบน้ำให้ใช้เพียงผ้าสะอาดธรรมดาเช็ดแผล ไม่จำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์ และไม่ต้องไปทำแผลใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนสะเก็ดที่ติดอยู่ที่แผลก็ไม่ควรแกะออก ควรปล่อยให้ลอกไปเองจะดีกว่า (ในปัจจุบันโรงพยาบาลบางแห่งจะใช้ผ้าและปลาสเตอร์ปิดแผลชนิดกันน้ำได้ 2 วัน หลังผ่าตัดคุณแม่ก็อาบน้ำได้ตามปกติ พอครบ 6 – 7 วันหลังผ่าตัดก็เปิดผ้าเปิดแผลออก ถ้าแผลแห้งสนิทดีก็ไม่ต้องปิดแล้วครับ)



ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องขึ้นลงบันได เช่น ห้องนอนที่อยู่ชั้นบน คุณแม่สามารถค่อย ๆ เดินขึ้นลงบันไดได้โดยใช้ความระมัดระวังในระยะแรก โดยให้คุณพ่อช่วยประคองไว้ ภายใน 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด ก็สามารถขึ้นลงบันไดได้ค่อนข้างปกติแล้ว คุณแม่จึงไม่ต้องกลัวว่าแผลผ่าตัดจะอักเสบหรือเกิดแผลแยก เพราะคุณหมอเย็บแผลไว้หลายชั้น และบางชั้นก็ใช้ไหมที่ละลายช้า อาจอยู่นานเป็นเดือน ซึ่งพอถึงเวลานั้นแผลก็หายเป็นปกติแล้วครับ (ความจริงแล้วการขึ้นลงบันไดจะใช้กำลังของขาทั้งสองข้างเป็นส่วนใหญ่ โดยมีมือช่วยเกาะราวบันไดเพื่อทรงตัวและผ่อนแรงบ้าง กล้ามเนื้อของผนังหน้าท้องจึงถูกใช้งานน้อยมาก แต่ถ้าเจ็บแผลและสามารถย้ายมานอนชั้นล่างชั่วคราวก่อนจนกว่าจะแข็งแรงก็จะช่วยได้มากครับ)


ในช่วงพักฟื้นหลังคลอด คุณแม่ควรได้รับโภชนาการที่เพียงพอเพื่อให้แผลหายเร็วและเตรียมสารอาหารสำหรับสร้างน้ำนมให้ลูกต่อไป ซึ่งอาหารแสลงหลังคลอดนั้นคงมีแต่เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และอาหารรสจัดเกินไปเท่านั้น (มีความเชื่อผิดๆ ที่ว่าอาหารบางชนิดเป็นอาหารแสลงต่อแผลผ่าตัด เช่น ไข่แดงทำให้แผลไม่เรียบ หรือข้าวเหนียวทำให้แผลเป็นหนอง ซึ่งความจริงแล้วอาหารเหล่านี้ล้วนแต่มีคุณค่าทางโภชนาการ คุณแม่ควรได้รับโภชนาการให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อที่ร่างกายจะได้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม)


ควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะอากาศที่ร้อนจะทำให้เหงื่อออกมากและเกิดการอับชื้นบริเวณแผล

คุณแม่ไม่ควรยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่เป็นการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพราะอาจจะทำให้เจ็บแผลได้ รวมถึงการหลีกเลี่ยงท่าบริหารที่อาจเป็นอันตรายกับแผลและไม่ฝึกท่ายืดกล้ามเนื้อจนกว่าแผลจะหายสนิท ถ้าคุณแม่มีแผลฉีกขาดควรรีบไปพบแพทย์

สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกคนที่ 2 หลังการผ่าคลอดใหม่ๆ ควรให้คุณพ่อทำหน้าที่อุ้มลูกไปก่อนเพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีที่แผลมากเกินไป

เวลานอนคุณแม่ควรปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้แผลตรงหน้าท้องหย่อนไม่ตึง จะได้ไม่เจ็บแผลมากครับ ส่วนเวลาจะลุกจะนั่งจากเตียงก็ให้ใช้วิธีตะแคงตัวครับ แล้วค่อยๆ ใช้มือยันตัวลุกขึ้นในท่าตะแคง

คุณแม่ที่คลอดโดยการผ่าคลอดก็ควรรอให้ครบ 20 วันก่อนแล้วจึงเริ่มบริหารร่างกายได้ ไม่ต้องรอให้นานกว่านี้ เพื่อให้ร่างกายกลับมากระชับเหมือนเดิมได้อย่างรวดเร็ว

หากแผลที่เย็บมีอาการอักเสบ บวม แดง และมีอาการปวดมากขึ้น หรือมีหนอง มีกลิ่นเหม็น คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ

สำหรับการดูแลตัวเองของคุณแม่ผ่าคลอดในเรื่องอื่นๆ นั้นจะเหมือนกับคุณแม่ที่คลอดตามปกติทางช่องคลอดครับ เช่น การทำความสะอาด อาหารการกิน การดูแลเต้านม การคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกายหลังคลอด การทำงาน ฯลฯ




ขอบคุณข้อมูลจากเวป medthai

เอกสารอ้างอิง

หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ.  (รศ.พญ.สายฝน – นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์)

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด.  (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ)

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก.  (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)




สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

36
การดูแลตัวเองหลังคลอด (กรณีคลอดเอง) ตอนที่ 3

 

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

 
การมาของประจำเดือนและการคุมกำเนิดหลังคลอด ในช่วงหลังคลอด ระดับฮอร์โมนจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้คุณแม่มีการตกไข่และเริ่มมีประจำเดือน คุณแม่จะเริ่มมีไข่ตกได้เร็วสุดในช่วง 3 สัปดาห์หลังคลอด และหลังจากนั้นอีกประมาณ 2 สัปดาห์ก็จะเริ่มมีประจำเดือน สำหรับคุณแม่ให้เจ้าตัวน้อยกินนมอาจมีผลทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรแล็กตินที่กระตุ้นการสร้างน้ำนมจะมีผลกดการทำงานของรังไข่ทำให้ไข่ไม่สามารถตกได้ คุณแม่ที่ให้เจ้าตัวน้อยกินนมทุกวันอย่างสม่ำเสมอจึงมักไม่มีประจำเดือนในช่วง 6 เดือนแรก แต่สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้ให้เจ้าตัวน้อยกินนมแม่ ประจำเดือนอาจจะเริ่มมาตามปกติภายใน 4 – 8 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม แม้ประจำเดือนจะมาแล้วคุณแม่ก็ยังให้นมเจ้าตัวน้อยได้ตามปกติ เพราะการมีประจำเดือนไม่ได้เปลี่ยนแปลงคุณค่าของน้ำนมแม่แต่อย่างใด และแม้ว่าประจำเดือนจะยังไม่มาก็ตาม คุณแม่ก็ควรคุมกำเนิดก่อนจะมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด หรือเริ่มคุมกำเนิดหลังจากไปตรวจร่างกายเมื่อครบ 6 สัปดาห์หลังคลอด เพราะถ้าร่างกายมีไข่ตก คุณแม่ก็สามารถตั้งครรภ์ได้อีกในทันที ในช่วงนี้หากคุณแม่ต้องมีเพศสัมพันธ์ก็ควรได้รับการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีด้วย และถ้าจะให้ดีภายหลังการคลอด คุณแม่ควรเว้นการมีบุตรออกไปอย่างน้อย 2 ปี เพื่อคุณแม่จะได้มีเวลาในการดูแลเจ้าตัวน้อยอย่างเต็มที่และเพื่อให้ร่างกายและอวัยวะภายในมีช่วงเวลาฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์เหมือนเดิม ซึ่งการคุมกำเนิดก็มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร เช่น การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว การฉีดยาคุมกำเนิด การใส่ห่วงอนามัย การฝังยาคุมกำเนิด การสวมถุงยางอนามัย เป็นต้น (คุณแม่ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด เช่น เป็นโรคครรภ์เป็นพิษ โรคความดันโลหิตสูง โรคตับอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเม็ด ยาฉีด และยาฝังคุมกำเนิด แล้วใช้ห่วงคุมกำเนิดแทน)



การบริหารร่างกายหลังคลอด คุณแม่ที่คลอดตามปกติทางช่องคลอด หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้วควรจะเริ่มต้นทำกายบริหารเพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ผนังท้องที่หย่อนยานหลังคลอด และผนังช่องคลอดที่หมอได้เย็บไว้ให้ดีแล้วจะไม่หย่อนยาน จึงขอให้เริ่มบริหารร่างกายได้ตั้งแต่วันที่สองหลังการคลอดเป็นต้นไป ส่วนคุณแม่ที่คลอดโดยการผ่าคลอดก็ควรรอให้ครบ 20 วันก่อนแล้วจึงเริ่มบริหารร่างกายได้ ไม่ต้องรอให้นานกว่านี้ เพื่อให้ร่างกายกลับมากระชับเหมือนเดิมได้อย่างรวดเร็ว

 

การฝึกขมิบช่องคลอด หลังการคลอดปากมดลูกจะกลับคืนสู่สภาพปกติภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนช่องคลอดอาจจะกลับสู่สภาพปกติได้ไม่ดีนักถ้าหากขาดการออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณนี้ คุณแม่จึงควรฝึกขมิบบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความกระชับของบริเวณช่องคลอดให้กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งการฝึกขมิบนี้คุณแม่สามารถทำได้ทันทีในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และควรเพิ่มจำนวนรอบให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อพยุงช่องเชิงกราน ช่วยลดโอกาสการเกิดการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และลดโอกาสเกิดปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะราดในอนาคต (การขมิบจะคล้ายกับการกลั้นปัสสาวะ แล้วค่อยๆ คลายออก ในแต่ละวันให้ทำอย่างสม่ำเสมอบ่อยๆ)

การดูแลผิวพรรณหลังคลอด อาการท้องแตกลายนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและป้องกันได้ยาก ส่วนรอยดำคล้ำตามบริเวณข้อพับต่างๆ นั้นจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งรอยดำเหล่านี้จะค่อยๆ จางลงในช่วงหลังคลอด คุณแม่ไม่ต้องพยายามขัดหรือถูออก เพราะอาจจะทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้ สำหรับรอยดำบางส่วนที่เห็นได้ชัด เช่น ลำคอ คุณแม่อาจใช้แป้งทาปกปิดได้บ้างครับ

 

การดูแลผมหลังคลอด ในระยะหลังคลอดอาจเกิดอาการผมร่วงมากกว่าปกติ แต่ถือเป็นภาวะปกติและเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ต้องตกใจหรือเป็นกังวลไป เพราะโดยทั่วไปแล้วอาการผมร่วงนี้จะหายไปเองภายใน 6 – 12 เดือน ซึ่งต่างกันในแต่ละกรณี โดยจะมีผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่ คุณแม่จึงอาจถือโอกาสนี้ในการเปลี่ยนทรงผมใหม่ โดยอาจตัดผมสั้นซึ่งเป็นทรงที่ดูแลง่าย ทำให้คุณแม่ไม่ต้องหวีผมบ่อย จึงช่วยลดอาการผมร่วงได้ดีขึ้น แต่ถ้ามีอาการผมร่วงรุนแรงคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์

การทำกิจกรรมของคุณแม่หลังคลอด ในช่วงสัปดาห์แรกคุณแม่ไม่ควรทำงานหนักหรือยกของหนักๆ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะจะทำให้มดลูกหย่อน ไม่ควรขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรือขับรถโดยไม่จำเป็น แต่คุณแม่สามารถทำงานเบาๆ เช่น กวาดบ้าน ซักผ้า ล้างจานได้บ้าง เพื่อเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถและเป็นการออกกำลังกายไปด้วยในตัว ส่วนการทำงานตามปกติควรทำภายหลัง 4 – 6 สัปดาห์ และได้รับการตรวจร่างกายหลังคลอดแล้ว

 

คุณแม่ที่เป็นริดสีดวง ควรป้องกันไม่ให้ท้องผูกโดยการดื่มน้ำและรับประทานผักและผลไม้ให้ได้มากๆ (คุณแม่ที่มีอาการท้องผูกก็เช่นกัน) หากมีอาการปวดอาจประคบด้วยถุงน้ำแข็งเพื่อลดความเจ็บปวด แต่ถ้าปวดมากอาจใช้ครีมหรือยาเหน็บตามที่แพทย์สั่ง


การตรวจร่างกายหลังคลอด คุณแม่ควรได้รับการตรวจร่างกายในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อตรวจดูการคืนสภาพของปากมดลูกและอวัยวะในอุ้งเชิงกราน (หรือแผลผ่าตัดหน้าท้อง หากคุณแม่ผ่าท้องคลอด) และตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ด้วยการตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขตั้งแต่ต้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนในด้านต่างๆ เช่น การคุมกำเนิด แม้ว่าคุณแม่หลังคลอดจะยังไม่มีประจำเดือนมาก็ตาม

หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด (ใน 1 ชั่วโมง ชุ่มผ้าอนามัย 1 แผ่น และเลือดที่ออกมาเป็นก้อน มักเกิดจากแผลในโพรงมดลูกบริเวณที่รกเกาะเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือมีเศษรกตกค้างอยู่ในโพรงมดลูก), น้ำคาวปลาผิดปกติ (สีไม่จางลง ปริมาณไม่ลดลง มีก้อนเลือดออกมา หรือมีกลิ่นเหม็น) ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยไม่สัมพันธ์กับอาหาร (เมื่อมีอาการปวดท้องหากคุณแม่กินยาแล้วหายปวดก็คงไม่มีอะไร แต่ถ้ากินยาแล้วยังไม่หายปวดก็ควรรีบไปพบแพทย์) แผลฝีเย็บผิดปกติ (ปกติแล้วแผลฝีเย็บจะหายเจ็บค่อนข้างเร็ว จากวันแรกเจ็บ 100% วันที่สองเจ็บ 70% วันที่สามเจ็บ 40% วันที่สี่เจ็บ 10% และพอถึงวันถัดไปก็จะหายเจ็บไปเลย แต่ถ้าเจ็บมากขึ้นและมีแผลบวม แผลแดงมากขึ้น ก็แสดงว่าเกิดการอักเสบ) ปวดศีรษะบ่อยและปวดเป็นเวลานาน (อาจเกิดความดันโลหิตสูง เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอหรือเครียดจากการคลอด) มีไข้สูงหรือหนาวสั่น (อุณหภูมิสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส) และมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่นร่วมด้วย ปัสสาวะแสบขัด (อาจเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากดูแลความสะอาดไม่ดีพอ) มดลูกเข้าอู่ช้า (หลังคลอดไปแล้ว 2 สัปดาห์ยังสามารถคลำพบมดลูกทางหน้าท้อง) มีก้อนที่เต้านมหรือเต้านมบวมแดง มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด

 

ขอบคุณข้อมูลจากเวป medthai

เอกสารอ้างอิง

หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ.  (รศ.พญ.สายฝน – นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์)

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด.  (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ)

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก.  (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

37
การดูแลตัวเองหลังคลอด (กรณีคลอดเอง) ตอนที่ 2


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

 

การรักษาความสะอาดของร่างกาย ถ้าเป็นการคลอดทางช่องคลอดปกติ คุณแม่สามารถอาบน้ำสระผมได้ตามปกติ อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมได้สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง เพราะในระหว่างรอคลอดและการคลอด นอกจากคุณแม่จะได้ใช้พลังงานในการเบ่งคลอดไปมากแล้วยังทำให้ร่างกายมีเหงื่อไคลซึ่งอาจหมักหมมได้ แต่สิ่งที่ควรระวังสำหรับการอาบน้ำก็คือ อย่าแช่น้ำนานเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย เนื่องจากร่างกายในช่วงหลังคลอดยังอ่อนเพลียอยู่ ส่วนการเข้าห้องน้ำก็ต้องระวังเรื่องการลื่นล้ม เพราะร่างกายอ่อนเพลียที่อาจทำให้คุณแม่หน้ามืดเป็นลมได้ง่าย และควรล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสอวัยวะเพศ เพราะอวัยวะเพศจะมีแผลทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย



การเปลี่ยนผ้าอนามัย ในช่วงหลังคลอดน้ำคาวปลาจะออกมาก 2 – 3 วันแรก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ คุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ โดยให้เปลี่ยนทันทีที่รู้สึกว่าผ้าอนามัยมีเลือดชุ่มหรือเปลี่ยนบ่อยๆ ทุกๆ 3 ชั่วโมง เพื่อความสะอาดอยู่เสมอ อย่าให้เกิดการหมักหมมหรือมีกลิ่นเหม็น เพราะจะทำให้ฝีเย็บเกิดการอักเสบได้ง่าย และควรดึงจากทางด้านหน้าไปด้านหลังทั้งหมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายได้ (ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด)


อาหารการกินของคุณแม่หลังคลอด โดยทั่วไปอาหารสำหรับคุณแม่หลังคลอดควรจะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด และมีกากใยมาก เพื่อป้องกันอาการท้องผูก เนื่องจากในช่วงหลังคลอดระยะแรกๆ ฮอร์โมนที่ทำให้ท้องผูกยังออกฤทธิ์อยู่ (ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน) ประกอบกับระยะนี้คุณแม่ไม่อยากเบ่งอุจจาระเพราะกลัวเจ็บแผล ก็ยิ่งมีโอกาสท้องผูกมากขึ้น ส่วนอาหารรสจัดก็ควรงดไปก่อน เพราะอาจทำให้คุณแม่ท้องเสียได้ง่าย


สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ คุณแม่ต้องคิดถึงปริมาณและคุณค่าที่จะได้รับอย่างเพียงพอในแต่ละวัน โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ ตับ นม ไข่ ผักและผลไม้สด ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะจะช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอจากการคลอด ทำให้สุขภาพของคุณแม่กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม และช่วยให้มีสารอาหารเพียงพอที่จะสร้างน้ำนมที่มีคุณภาพให้แก่ลูก (โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ คุณแม่ควรรับประทานให้มาก เพื่อเอาไปสร้างน้ำนมให้ลูก และเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว ส่วนไขมันและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้แก่ แป้ง ข้าว และน้ำตาลนั้น ควรกินให้น้อย คุณแม่ที่อ้วนอยู่แล้วจะได้ไม่อ้วนหนักมากไปกว่าเดิม)

คุณแม่รับประทานอาหารทะเลบ้างเพื่อน้ำนมแม่จะได้มีแร่ธาตุไอโอดีนสำหรับเพิ่มไอคิวให้แก่ลูก นอกจากนั้นก็ตองรับประทานผักและผลไม้ให้มากเพื่อป้องกันภาวะท้องผูก ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำจนรู้สึกกระหาย และควรดื่มน้ำทุกครั้งก่อนให้นมลูก หากต้องการดื่มน้ำหวานควรดื่มน้ำผลไม้คั้นสดแทน (คุณแม่บางรายที่อาจยังไม่อยากรับประทานอาหาร ควรได้รับวิตามินเสริมไปจนกว่าจะได้ตรวจหลังคลอด)

คุณแม่หลังคลอดสามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่มีของแสลงอย่างที่หลายคนข้าใจกัน เช่น การให้กินข้าวกับเกลือหรือปลาเค็มเป็นเวลานานและงดเนื้อสัตว์อื่นๆ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นโรคขาดสารอาหารได้ หรือให้กินแต่เนื้อสัตว์อย่างเดียว ไม่ให้กินผักผลไม้เลย ก็จะทำให้ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งกากใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายที่ควรได้รับไป

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ รวมถึงอาหารปรุงไม่สุก อาหารรสจัดมากเกินไป และอาหารหมักดองทุกชนิดคุณแม่ควรหลีกเลี่ยง ส่วนการรับประทานยาหรือเครื่องดื่มสมุนไพรต่างๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะสมุนไพรบางชนิด เช่น ไพล มีฤทธิ์ทำให้มดลูกคลายตก ซึ่งอาจทำให้คุณแม่ตกเลือดได้ จึงควรเลี่ยงการใช้ยาและอาหารบางชนิด

หากคุณแม่มีความกังวลในเรื่องของน้ำหนักตัว ควรงดอาหารประเภทที่มีแป้งและอาหารที่มีไขมันมาก โดยเฉพาะไขมันที่มาจากเนื้อสัตว์และอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ควรกินแต่พอสมควรนะคะ และควรงดขนมหวาน เพราะอาหารพวกนี้ล้วนแต่ทำให้อ้วนและให้ประโยชน์แก่ร่างกายน้อย แต่ไม่ควรใช้วิธีอดอาหาร

คนโบราณมักให้หญิงหลังคลอดกินยาดองเหล้าซึ่งทำจากสมุนไพรต่างๆ ดองกับเหล้าขาว สมุนไพรที่มีอยู่ในเหล้านั้นก็ไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน เพราะมักจะไม่บอกส่วนผสมว่าใส่อะไรลงไปบ้าง ส่วนชาวจีนนิยมให้กินไก่หรือหมูผัดขิงผสมเหล้า ถ้าไม่ใส่เหล้าก็คงจะดีหรอกครับ เพราะไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีน สำหรับขิงนั้นก็เป็นสมุนไพรชนิดที่ช่วยเรื่องระบบการย่อยอาหาร ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี จึงไม่ห้ามถ้าจะกินไก่ผัดกับขิง แต่การใส่เหล้าลงไปในอาหารหรือการให้กินยาดองเหล้า เพื่อหวังที่จะให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ดี ซึ่งความจริงแล้วไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเลยครับ เพราะแค่เป็นการกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดีเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่ไม่ได้ทำให้แข็งแรงเหมือนที่เข้าใจกัน แต่กลับตรงกันข้าม คุณแม่ที่เป็นโรคขาดสารอาหารและโลหิตจางด้วยแล้ว เหล้ายังเข้าไปทำลายเซลล์ตับ ทำให้หน้าที่ของตับเสื่อมลงได้ง่าย และยังออกมาทางน้ำนมอีก จึงก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยอีกด้วย

 

มีความเชื่อที่ว่าคุณแม่หลังคลอดที่รับประทานแกงเลียงหัวปลีจะช่วยทำให้มีน้ำนมมากขึ้น แต่เรื่องนี้ยังไม่มีการศึกษายืนยันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม แกงเลียงก็มีสารอาหารเกือบครบทุกหมู่ที่ร่างกายต้องการ จึงเหมาะสำหรับคุณแม่หลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ดีครับ

คุณแม่ที่ให้นมลูกควรระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานยา เมื่อเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์เพราะยาหลายชนิดสามารถผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกได้ เช่น ยานอนหลับ ยาปฏิชีวนะ ยาจีน ยาดองเหล้า ฯลฯ

นอกจากนี้อาหารบางอย่าง อาหารรสจัดหรือมีกลิ่นฉุนรุนแรง เช่น เครื่องเทศต่าง ๆ อาจทำให้น้ำนมมีรสชาติหรือกลิ่นผิดไปจากเดิมได้ จึงทำให้ลูกไม่ยอมดูดนมทั้งที่หิวอยู่


ยาบำรุงหลังคลอด หลังคลอดแพทย์จะให้เฉพาะยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล และให้ยาบำรุงเลือดกลับไปรับประทานที่บ้านเท่านั้น ส่วนยาอื่นๆ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่งไม่รับประทานโดยเด็ดขาด หลังการคลอดร่างกายจะเสียเลือดไปมาก ซึ่งเลือดเหล่านี้มีธาตุเหล็กและแร่ธาตุต่างๆ ดังนั้น ยาที่ให้คุณแม่หลังคลอดจึงเป็นวิตามินรวมหรือวิตามินบีกับธาตุเหล็ก เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไปและเพื่อช่วยสร้างน้ำนมให้แก่ลูกน้อย หมอจะสั่งยาบำรุงให้ไปกินที่บ้านอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือนครึ่งถึงสองเดือน ถ้าระหว่างคลอดตกเลือดมากก็อาจต้องให้ธาตุเหล็กมากขึ้นหรือนานกว่าในรายปกติ


การพักผ่อนร่างกายหลังคลอด คุณแม่ควรพักผ่อนตามปกติเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่คุณแม่หลายคนที่เลี้ยงเจ้าตัวน้อยเองอาจจะเหนื่อยและรู้สึกว่านอนไม่พออยู่บ้าง เพราะเจ้าตัวน้อยร้องกวนต้องคอยดูแล ทำโน่นทำนี่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ควรพยายามหาโอกาสพักผ่อนในช่วงที่เจ้าตัวน้อยนอนหลับบ้าง โดยควรนอนหลับให้ได้รวมแล้วอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ในเวลากลางวันควรหลับบ้างขณะเจ้าตัวน้อยหลับให้ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ในขณะที่ให้นมเจ้าตัวน้อยไม่ควรหลับ เพราะเต้านมอาจปิดจมูกจนเจ้าตัวน้อยหายใจไม่ออกได้ (ในอดีตการคลอดเป็นเรื่องสถานการณ์ที่ลำบากเพราะการแพทย์ยังไม่ทันสมัย มีอาการตกเลือดหลังคลอดกันมาก มีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน หรือบางคนเป็นฝีตามเส้นเลือดที่ขา ฯลฯ จึงทำให้คนโบราณมองการคลอดและระยะหลังคลอดเป็นเรื่องใหญ่ จึงมีการห้ามอะไรหลายอย่าง เช่น ห้ามอาบน้ำตอนกลางคืน ห้ามถูกแดด ห้ามถูกลม ห้ามรับประทานอาหารบางอย่าง เพราะถือเป็นของแสลง ฯลฯ แต่ในปัจจุบันการคลอดนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดามาก อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นก็มีน้อย หมอจึงเห็นว่าควรให้ร่างกายของคุณแม่กลับเข้าสู่กิจวัตรประจำวันตามปกติที่เคยเป็นมาก่อนตั้งครรภ์ให้เร็วที่สุดภายใน 1 เดือน)


การดูแลหลังคลอด

ดูแลสุขภาพจิตของคุณแม่หลังคลอด นอกจากการปรับตัวทางร่างกายแล้ว คุณแม่ยังต้องปรับจิตใจให้เข้ากับสภาพของการเป็นคุณแม่ที่สมบูรณ์ด้วย ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ “คุณพ่อ” ซึ่งจะต้องช่วยดูแลประคับประคองเอาใจใส่ ให้กำลังใจ แสดงความห่วงใยต่อความไม่สบายใจและความกังวลใจของคุณแม่หลังคลอด รวมถึงคอยช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น กิจวัตรประจำวัน การช่วยเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อย เพื่อให้คุณแม่ได้มีโอกาสพักผ่อนบ้าง เป็นต้น
 

การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด เพื่อเป็นการรักษาแผลที่ฝีเย็บ และเพื่อป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก หมอจะให้งดมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่งมาตรวจสุขภาพในช่วง 4 – 6สัปดาห์หลังคลอด (แต่ก็ไม่จำเป็นทุกกรณีไป ถ้าน้ำคาวปลาหมด แผลที่ช่องคลอดหายดี และไม่รู้สึกเจ็บปวดแล้ว การร่วมเพศก็ไม่ทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้น และสามารถทำได้หลังจากคลอดไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งจะไม่มีอันตรายใดๆ เพราะในช่วงหลังคลอดคุณแม่จะยังคงมีน้ำคาวปลาไหลอยู่ การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้จึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อในช่องคลอดและในโพรงมดลูกมากกว่าปกติ ถ้าหากร่างกายของคุณแม่ยังไม่พร้อมหรือไม่มีความสนใจในเรื่องเพศสัมพันธ์ เพราะคุณแม่กำลังปรับตัวเข้าหาเจ้าตัวน้อย มีอารมณ์แปรปรวน หรือจิตใจยังพะวงอยู่กับลูกน้อย คุณแม่ก็ควรพูดคุยกับคุณพ่อเพื่อจะได้มีความเข้าใจร่วมกันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ผ่านช่วงนี้ไปได้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรให้คุณพ่อสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการตั้งครรภ์

 

ขอบคุณข้อมูลจากเวป medthai

เอกสารอ้างอิง

หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ.  (รศ.พญ.สายฝน – นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์)

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด.  (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ)

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก.  (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)

 

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

38
การดูแลตัวเองหลังคลอด (กรณีคลอดเอง) ตอนที่ 1


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

 

การเคลื่อนไหวร่างกายหลังคลอด หลังการคลอดไม่มีการห้ามไม่ให้คุณแม่เคลื่อนไหวนะค่ะ แต่ในทางกลับกันแพทย์และพยาบาลจะส่งเสริมให้คุณแม่เคลื่อนไหวด้วยซ้ำ ด้วยการเดินไปห้องน้ำเองบ้าง ไปล้างหน้าและแปรงฟันบ้าง ฝึกดูแลเจ้าตัวน้อยบ้าง ทั้งนี้หมายถึงกรณีทั่วไปที่คุณแม่คลอดได้ตามปกติและไม่มีปัญหาใดๆ นะค่ะ เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยให้ร่างกายมีการขยับตัวของกล้ามเนื้อและทำให้แผลฝีเย็บสมานเร็วขึ้น แต่มีสิ่งที่ควรระวังอยู่ 2 อย่าง คือ 1 เนื่องจากคุณแม่เสียเลือดไปในขณะคลอดมากกว่าปกติ ฉะนั้นควรระวังอาการหน้ามืดเป็นลมในระยะหลังคลอดใหม่ๆ และ 2 อย่าลืมว่ามดลูกเพิ่งผ่านการทำงานมาอย่างหนัก ดังนั้น การเคลื่อนไหวใดๆ ก็ขอให้ไม่ให้กระทบกระเทือนกับมดลูก เช่น การยกของหนัก หิ้วน้ำเป็นถังๆ ฯลฯ แบบนี้ไม่ควรทำค่ะ นอกเหนือจากนี้แล้วไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายตามที่หมอแนะนำ การเดินไปไหนมาไหน หรือขึ้นลงบันไดก็ย่อมทำได้ครับ และถ้าครบเดือนไปแล้วก็ขับรถไปทำงานได้ตามปกติ


 

การดูแลแผลฝีเย็บ หลังการคลอดปกติทางช่องคลอด คุณแม่จะมีความรู้สึกปวดแผลฝีเย็บซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ถ้าปวดมากหมอจะให้ยาแก้ปวดเพื่อระงับการปวดแผลที่ฝีเย็บหรือแผลผ่าตัดทั่วๆ ไปก็ใช้ยาพวกไทลินอล (Tylenol) หรือพาราเซตามอล (Paracetamol) 2 เม็ดทุก 4 – 6 ชั่วโมง อาการก็จะทุเลาลง ส่วนการอบแผลด้วยความร้อนและการอาบน้ำอุ่นก็จะช่วยให้อาการบวมที่แผลลดน้อยลงและช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลได้เช่นกัน สำหรับยาแก้อักเสบนั้นหมอจะจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ไม่ได้เตรียมการคลอดให้สะอาดหรือแผลฝีเย็บกว้างเท่านั้น เพื่อป้องกันการอักเสบของแผล (บางคนขอให้หมอสั่งยาดีๆ ให้ แผลจะได้หายเร็ว แต่ความจริงแล้วยาที่จะทำให้แผลหายเร็วไม่มีนะครับ ถ้าคุณแม่ดูแลร่างกายอย่างดี บำรุงอย่างดี ร่วมกับการคลอดที่ถูกถูกวิธีก็จะช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น)

 

การล้างแผลฝีเย็บ นั้นควรล้างด้วยน้ำต้มสุกอุ่นๆ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างแผลเป็นพิเศษแต่อย่างใด เมื่อล้างเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าสะอาดหรือสำลีซับให้แห้งก็เพียงพอแล้ว (หากแผลโดนน้ำตอนอาบน้ำก็ไม่มีปัญหาครับ แค่ล้างด้วยน้ำเปล่าโดยปล่อยให้ไหลรินผ่านก็พอ ห้ามใช้หัวฉีดล้างชำระหรือใช้ฝักบัวล้างโดยตรง เพราะแรงดันของน้ำอาจทำให้แผลเปิดแยกออกจากกันได้ และยังอาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปสู่ส่วนลึกๆ ของแผลได้อีกด้วย) หลังจากนั้น 5 – 6 วันแผลก็มักจะติดกันและแห้งดี ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ

หลังปัสสาวะคุณแม่ควรใช้น้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นชำระล้างบริเวณแผลก็เพียงพอแล้ว ซึ่งจะช่วยลดอาการแสบคันและป้องกันการอักเสบได้ ส่วนภายหลังการถ่ายอุจจาระเสร็จ คุณแม่ควรใช้กระดาษชำระเช็ดไปทางด้านหลัง ไม่ควรเช็ดออกมาทางด้านหน้า เพราะอาจจะทำให้เชื้อโรคเข้ามาปนเปื้อนบริเวณแผลจนเกิดการอักเสบได้

ในช่วงหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาไหลซึมออกมาทางช่องคลอด คุณแม่ก็ต้องใส่ผ้าอนามัยเอาไว้ตลอดและเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพราะหากแผลแฉะอับชื้นก็จะทำให้เกิดการอักเสบได้

 

สถานพยาบาลบางแห่งนิยมอบแผลด้วยไฟฟ้า ซึ่งโดยปกติแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำและไม่ค่อยได้ช่วยอะไร แต่ถ้าแผลบวมมาก การอบไฟฟ้าหรือนั่งแช่น้ำอุ่นเช้าและเย็นครั้งละ 15 นาที เพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณปากช่องคลอดมากขึ้น ก็อาจจะช่วยให้หายเร็วขึ้นได้บ้างครับ

 

การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของคนไทยได้ทำสืบต่อกันมาอย่างยาวนานจนบางคนเรียกระยะหลังคลอด “ระยะอยู่ไฟ” เพราะเชื่อกันว่าการอยู่ไฟจะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการอาการปวดและบำบัดโรคหลังคลอดได้ ซึ่งก็มีทั้งการอยู่ไฟแบบโบราณและแบบสมัยใหม่ แต่ควรอยู่ไฟอ่อนๆ ห้ามนำเจ้าตัวน้อยเข้าไปอยู่ไฟด้วย และในระหว่างการอยู่ไฟจะทำให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อมาก จึงอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าเดิม (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ การอยู่ไฟหลังคลอด)

 

การนั่งและยืนให้ถูกท่า ผู้หญิงเวลานั่งบริเวณฝีเย็บจะโดนน้ำหนักตัวทับลงกับพื้น จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดใหม่ๆ นั่งตรงไม่ค่อยได้ หรือคนที่ชอบนั่งขัดสมาธิ ซึ่งการนั่งท่านี้ขาจะฉีกแยกจากกัน จึงทำให้แผลที่ตึงอยู่แล้วก็แทบจะปริแยกออกจากกัน แต่ท่านั่งที่ดีที่สุดก็คือ “ท่านั่งพับเพียบ” เพราะการนั่งท่านี้จะไม่ทำให้เจ็บแผลมาก แต่ถ้ายังนั่งไม่ถนัดก็ให้คุณแม่หาเบาะนุ่มๆ หรือหมอนรองนั่งมารองก็ได้ เพราะจะช่วยให้คุณแม่นั่งได้ง่ายขึ้นและมีอาการเจ็บปวดไม่มาก แต่เวลาจะลุกจะนั่งก็ต้องระวังด้วยนะครับ อย่าก้าวขามากเกินไปหรือลุกนั่งเร็วเกินไป เพราะจะทำให้แผลฝีเย็บที่ยังไม่หายดีปริออกจนต้องเย็บใหม่ได้ ส่วนท่ายืนนั้นจะตรงข้ามกับท่าเดิน คุณแม่ไม่ควรเดินหนีบๆ เพราะจะทำให้แผลเกิดเสียดสีกัน แต่ให้เดินแบบแยกขาออกจากกันเล็กน้อย เดินแยกนิดหน่อยแต่พองาม โดยให้เดินอย่างนี้ประมาณ 7 วันแล้วแผลก็จะค่อยๆ หายเอง หลังจากนั้นก็สามารถกลับมาเดินในท่าปกติได้ครับ

 

การให้นมเจ้าตัวน้อย คุณแม่ควรกระตุ้นให้น้ำนมไหลด้วยการให้เจ้าตัวน้อยดูดนมทันทีหลังคลอดและดูดบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง สลับข้างกัน ไม่ควรให้น้ำร่วมด้วยเพราะจะทำให้ลูกอิ่มเร็ว ไม่ค่อยดูดนม คุณแม่ไม่ควรเลี้ยงเจ้าตัวน้อยด้วยนมแม่สลับกับขวดนม เพราะจะทำให้เจ้าตัวน้อยติดหัวนมยางได้ เวลาให้นมเจ้าตัวน้อยคุณแม่ควรให้เจ้าตัวน้อยคาบหัวนมไปจนถึงบริเวณลานหัวนม (มิดลานนม) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของน้ำนม (หากเจ้าตัวน้อยกินไม่หมดก็สามารถบีบเก็บไว้ในตู้เย็นได้) เพื่อป้องกันหัวนมแตก และยังมีผลทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วและไม่ทำให้เจ้าตัวน้อยดูดลมเข้าทางมุมปากเพื่อป้องกันเจ้าตัวน้อยท้องอืดได้อีกด้วย

 

คุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งให้เจ้าตัวน้อยดูดนม อาจรู้สึกเจ็บหัวนมเป็นเรื่องธรรมดา เพราะการงับดูดนมของเจ้าตัวน้อยยังไม่ถูกต้อง ถ้าคุณแม่ให้เจ้าตัวน้อยงับไปถึงลานหัวนมก็จะช่วยป้องกันไม่ให้หัวนมเจ็บได้ ถ้ารู้สึกเจ็บหัวนมอาจใช้โลชั่นทาที่แผ่นผ้าซับน้ำนมเพื่อลดการเสียดสีที่หัวนม หรือให้ใช้น้ำนมของคุณแม่ทาบริเวณหัวนมซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้บ้าง และช่วยให้แผลบริเวณหัวนมหายเร็วขึ้นอีกด้วย

 

ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการให้นมอาจเกิดปัญหาท่อน้ำนมอุดตันได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการคัดเต้านม มีสิ่งติดค้างอยู่ที่หัวนมทำให้น้ำนมไหลไม่สะดวก หรือคุณแม่ใส่ยกทรงรัดแน่นเกินไป ถ้าคลำดูก็จะพบว่ามีก้อนในเต้านมและผิวบริเวณนั้นจะบวมแดง คุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ลูกดูดนม แล้วคลึงบริเวณที่เป็นก้อนเบาๆ ช่วยให้น้ำนมไหลพุ่งเพื่อจะได้มีแรงดันท่อที่อุดตันให้เปิดออก หรืออาจใช้น้ำอุ่นประคบ แต่ถ้าลองแล้วยังไม่ได้ผลก็ควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เป็นฝีที่เต้านมได้

 

คุณแม่ล้างมือให้สะอาดก่อนจับเต้านมทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่ไม่จำเป็นต้องเช็ดหัวนมทุกครั้งที่ให้นมลูก

 

ควรดูแลรักษาความสะอาดเต้านมและหัวนมด้วยทุกครั้งทั้งก่อนและหลังลูกดูดนมเสร็จ โดยใช้น้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดและซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด (ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณเต้านม)

 

การดูแลเต้านม ในช่วงหลังคลอดและให้นมลูก เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดและน้ำหนักมากเป็น 3 เท่าของเต้านมปกติ ทำให้เอ็นที่พยุงเต้านมเกิดการยืด คุณแม่จึงควรสวมยกทรงพยุงไว้เพื่อช่วยป้องกันการหย่อนยานและลดความเจ็บปวด และควรให้เต้านมแห้งสะอาดก่อนสวมชั้นในทุกครั้ง คุณแม่ไม่ควรสวมยกทรงแบบที่เป็นโครงเหล็ก เพราะอาจจะไปกดทับท่อน้ำนม

 

ถ้ารู้สึกเจ็บปวดเต้านมใน 2 – 3 วันหลังคลอด จะเป็นการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองให้คุณแม่ประคบด้วยความเย็นและความร้อนสลับกันเพื่อลดความเจ็บปวด

 

อาการตึงคัดเต้านมหลังคลอดนั้น ถ้าคุณแม่ให้ลูกดูดนมก็จะช่วยลดอาการตึงคัดได้

คุณแม่ควรใช้สำลีชุบน้ำหรือโลชั่นทำความสะอาดเต้านม ไม่ควรใช้สบู่เพราะจะทำให้หัวนมแตกและเจ็บได้

 

สำหรับการดูแลเต้านมก็แค่ทำพร้อมกับการอาบน้ำในแต่ละวันก็เพียงพอแล้ว และหากมีปัญหาหัวนมแตกหรือเจ็บ ควรใช้ครีมทาตามที่แพทย์สั่งและงดให้นมข้างนั้นจนกว่าจะหาย ในระหว่างงดให้นมคุณแม่ควรบีบน้ำนมทิ้งเพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของน้ำนมไปด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจากเวป medthai

เอกสารอ้างอิง

หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ.  (รศ.พญ.สายฝน – นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์)

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด.  (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ)

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก.  (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)

 

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

39
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด


วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่



มดลูก เป็นอวัยวะที่รับภาระหนักมาตลอด 9 เดือน จากที่มีขนาดเล็กเท่าผลชมพู่ กลับต้องมาขยายใหญ่กว่าผลแตงโมเพื่อรองรับเจ้าตัวน้อยในครรภ์ และหลังการคลอดแล้วยังต้องบีบรัดตัวให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บปวดบ้างประมาณ 2 - 3 วัน และอาจเจ็บเล็กน้อยต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ จนมดลูกกลับเข้าสู่เชิงกราน หลังคลอดใหม่ๆ มดลูกจะมีน้ำหนักเกือบ 1 กิโลกรัม ซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อมดลูก เศษเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวในระหว่างการตั้งครรภ์  และเลือด ถ้าคุณแม่คลำดูหน้าท้องก็จะพบว่ามดลูกมีขนาดโตเท่ากับตอนตั้งท้องได้ 4 -5 เดือน หรือเท่ากับผลส้มโอ เมื่อมดลูกหดตัวขนาดก็จะค่อยๆ ลดลงด้วย ในวันแรกหลังคลอดระดับของมดลูกจะอยู่ราวๆ ระดับสะดือของคุณแม่ และจะค่อยๆ ลดลงวันละประมาณ 1 นิ้วมือ ประมาณ 10 - 12 วันหลังคลอดคุณแม่ก็จะไม่สามารถคลำมดลูกตนเองได้จากทางหน้าท้องแล้ว และขนาดของมดลูกจะลดลงต่อไปอีกจนเมื่อคุณแม่กลับไปตรวจหลังคลอด 5 - 6 สัปดาห์ ขนาดของมดลูกก็จะเล็กลงเท่ากับขนาดปกติ คือ หนักประมาณ 50 กรัม


ช่องคลอดและแผลฝีเย็บ เป็นผิวหนังที่อยู่ระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนัก ในการคลอดอาจจะถูกกรีดเพื่อให้สะดวกต่อการคลอดและเย็บติดไว้ ไม่ว่าจะเย็บด้วยไหมละลายหรือใช้ไหมชนิดตัด แผลในช่องคลอดอาจจะบวมเล็กน้อย ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดแผลบ้าง นั่งได้ลำบากในช่วง 2 - 3 วันแรก หลังจากนั้นจะค่อยๆ หายไป และแผลในช่องคลอดจะหายสนิทใน 3 - 4 สัปดาห์หลังคลอด


เต้านม หลังการคลอดกลไกในร่างกายของคุณแม่จะกระตุ้นให้มีน้ำนม จึงอาจเกิดอาการคัดตึงบ้าง คุณแม่ควรให้เจ้าตัวน้อยดูดนมแม่ เพราะนอกจากจะช่วยลดอาการคัดตึงแล้ว เจ้าตัวน้อยยังได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งภูมิต้านทานที่เหมาะสมและดีที่สุดจากแม่อีกด้วย


ผนังหน้าท้อง หลังคลอดแล้วบริเวณหน้าท้องที่เคยกลมนูนก็จะแบนราบลง แต่ไม่ใช่ว่าจะราบเรียบเสียทีเดียว เพราะคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะจากการบริหารร่างกายกว่าหน้าท้องจะกลับมาเป็นปกติ ในสมัยก่อนอาจมีคำแนะนำให้คุณแม่หลังคลอดลดหน้าท้องด้วยการอยู่ไฟหรือนาบหน้าท้อง โดยหวังว่าจะทำให้ผนังหน้าท้องหดเข้าที่ ปัจจุบันก็ทราบกันแล้วว่าไม่จริง เพราะการบริหารร่างกายหลังคลอดเท่านั้นที่จะช่วยให้ผนังหน้าท้องของคุณแม่ที่ยืดออกมากหดเข้าที่ ถ้าคุณแม่สามารถทำกายบริหารจนใส่กระโปรงหรือกางเกงตัวเดิมที่ใส่ได้ก่อนตั้งครรภ์ก็จะดีมาก


ปวดท้องน้อยหลังคลอด ในขณะตั้งครรภ์อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานจะยืดขยายออกตามขนาดของเจ้าตัวน้อย หลังจากคลอดแล้วก็จะมีการรัดหดตัวเพื่อกลับเข้าสู่ขนาดปกติ ด้วยเหตุนี้คุณแม่จึงปวดท้องน้อยเมื่อมดลูกหดรัดตัว ซึ่งอาการปวดนี้จะคล้ายๆ กับการปวดประจำเดือนหรือตอนเจ็บครรภ์เตือนในช่วงใกล้คลอด และคุณแม่จะรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อให้เจ้าตัวน้อยดูดนม เพราะฮอร์โมนออกซีโตซินที่หลั่งออกมาจะช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น


ถ่ายปัสสาวะลำบาก และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คุณแม่อาจรู้สึกถ่ายปัสสาวะลำบากขึ้นเนื่องจากช่องคลอดและบริเวณทางเดินปัสสาวะยังมีอาการบวมอยู่ การขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดเหมือนตอนกลั้นปัสสาวะจะช่วยให้คุณแม่ถ่ายปัสสาวะได้ดีขึ้น ซึ่งอาการปวดขัดปัสสาวะนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปภายใน 2 - 3 วันหลังคลอด อย่างไรก็ตามถ้าคุณแม่มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะแสบขัด ปวดหลังบริเวณใต้ชายโครงและเป็นไข้หนาวสั่นอยู่เป็นเวลานาน เนื่องจากระหว่างการคลอดศีรษะของทารกกดทับที่บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะอยู่นาน อาจทำให้น้ำปัสสาวะค้างขังอยู่นานหรือย้อนกลับขึ้นไปที่บริเวณไตจนทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที


อาการท้องผูก การเกิดท้องผูกในช่วงหลังคลอดนั้นมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวเพื่อบีบขับอุจจาระออกมามีการชะลอตัว ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหน้าท้องยังคงหย่อน ทำให้ความดันในช่องท้องลดลง ประกอบกับระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ก็ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัว คุณแม่หลังคลอดจึงเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย และยิ่งมีแผลฝีเย็บด้วยแล้วคุณแม่ก็อาจกลัวเจ็บแผลจนไม่อยากถ่ายเลยก็ได้ ทำให้คุณแม่หลายคนยังมีอาการท้องผูกไปอีกหลายวัน ขอให้คุณแม่รับประทานอาหารที่มีกากใบมากๆ ดื่มน้ำให้มาก และพยายามเบ่งอุจจาระ ไม่ต้องกลัวว่าแผลจะแยก แล้วอาการท้องผูกจะค่อยๆ หายไป และช่วยลดอาการของริดสีดวงทวาร จึงทำให้คุณแม่สบายตัวขึ้น


ริดสีดวงทวาร คุณแม่หลังคลอดมักมีอาการของริดสีดวงทวารหรือเส้นเลือดขอดบริเวณทวารหนัก ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดที่บริเวณอุ้งเชิงกรานถูกกดทับเนื่องจากการตั้งครรภ์และการคลอด เมื่อคลำดูจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อนิ่มๆ ที่โป่งขึ้นมาบริเวณทวารหนัก ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บหรือมีเลือดออกร่วมด้วยขณะถ่ายอุจจาระ คุณแม่จึงควรปรึกษาหมอเพื่อช่วยดูแล


น้ำคาวปลา คือ เนื้อเยื่อและเลือดที่ไหลออกมาจากโพรงมดลูกหลังการคลอด ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกตัวของรก น้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาจากมดลูก 3 ระยะจนกว่าแผลจะหาย ใน 3 - 4 วันแรกน้ำคาวปลาจะมีสีออกแดงๆ และมีปริมาณค่อนข้างมาก ต่อจากนั้นจะค่อยๆ ลดปริมาณและมีสีจางลงเป็นสีชมพูหรือน้ำตาล และประมาณวันที่ 10 น้ำคาวปลาจะมีสีเหลืองขุ่นๆ หรือใสและจะหมดไปในที่สุด แต่คุณแม่บางรายอาจใช้เวลานานกว่านี้เป็นเดือนก็ได้ เพราะระยะเวลาในการมีน้ำคาวปลาของคุณแม่จะแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 - 6 สัปดาห์ แต่โดยทั่วไปจะมีประมาณ 3 สัปดาห์ ถ้าคุณแม่ให้เจ้าตัวน้อยดูดนมก็จะช่วยย่นระยะเวลาการมีน้ำคาวปลาให้สั้นลงได้ เพราะขณะที่ฮอร์โมนออกซีโตซินกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของน้ำนมก็จะช่วยให้มดลูกหดรัดตัวกลับคืนสู่ภาวะปกติเร็วขึ้นและยังช่วยให้เสียเลือดน้อยลงได้อีกด้วย (ถ้าน้ำคาวปลาออกน้อยก็ไม่ต้องตกใจ เพราะในปัจจุบันแพทย์มักจะฉีดยาให้มดลูกหดตัว จึงทำให้เสียเลือดหรือน้ำคาวปลาน้อยลง ส่วนคำโบราณที่ว่า "คลอดแล้วน้ำคาวปลาต้องออกมา" นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าออกมากเกินไปก็แปลว่าต้องเสียเลือดมาก ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้)


น้ำหนักตัว หลังคลอดวันแรกน้ำหนักตัวของคุณแม่จะลดลงไปประมาณ 6 กิโลกรัม เนื่องจากลูกน้อยที่คลอดออกมา รก น้ำคร่ำ และน้ำที่คั่งอยู่ในร่างกายได้ถูกขับออกมาทางปัสสาวะและเหงื่อ ต่อจากนั้นน้ำหนักของคุณแม่จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อถึงวันไปตรวจหลังคลอดน้ำหนักควรจะลดลงเท่ากับน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์หรือไม่เกิน 2 - 3 กิโลกรัม ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักมากกว่าเดิมก็ควรออกกำลังกายและควบคุมอาหารให้เหมาะสม


ผมร่วง คุณแม่หลายคนมักมีอาการผมร่วงและผมบางหลังคลอด บางรายเกิดเร็วทันทีหลังคลอดจนถึงช่วง 2 - 3 เดือนต่อมา ก็ไม่ต้องตกใจหรือเป็นกังวลมากไปนะครับ ถ้าคุณแม่บำรุงร่างกายตามปกติ อีกไม่นานเส้นผมก็จะขึ้นใหม่เองค่ะ


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ


40
เทคนิคง่ายๆในการเพิ่มน้ำนมแม่ ให้มีมากยิ่งขึ้น

 

วันนี้ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเรามีบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่



คุณแม่น้อยคนนักที่จะมีน้ำนมพร้อมสำหรับเจ้าน้อยในวันแรกที่ลืมตาดูโลก  กระบวนการสร้างน้ำนมของคุณแม่ ไม่ซับซ้อน แต่มีหลายปัจจัยที่ทำให้น้ำนมมามากและมาน้อยแตกต่างกันในคุณแม่แต่ละคน  วันนี้เราเคล็ดลับดีๆมาแนะนำเพื่อให้คุณแม่ทุกบ้านมีน้ำนมที่มากล้น เพื่อเป็นของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อย ก่อนอื่นคุณแม่ควรทำความรู้จักกับกลไกลการสร้างน้ำนมแม่ก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมในการกระตุ้นอย่างถูกวิธี



กระบวนการสร้างน้ำนมแม่

กระบวนการสร้างน้ำนมแม่เกิดขึ้นตั้งแต่ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ครบ 8 สัปดาห์ เต้านมของคุณแม่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ลานหัวนมจะใหญ่และสีเข้มขึ้น หัวนมอาจจะตั้งขึ้น เต้านมแข็งและตึง จากนั้นจะค่อยๆขยายขนาดออก ซึ่งเต้านมใหญ่หรือเล็กนั้นไม่ใช่ตัวกำหนดปริมาณน้ำนมแต่อย่างใด การมีน้ำนมมากหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนต่อมน้ำนมภายในเต้านมมากกว่า  และการกระตุ้นให้เจ้าตัวน้อยดูดนมอย่างถูกวิธีมากกว่า เมื่อตั้งครรภ์ในช่วง 2– 3 เดือนสุดท้ายก่อนครบกำหนดการคลอด ฮอร์โมนโปรแลคตินจะมีระดับสูงขึ้น ฮอร์โมนโปรแลคตินเป็นตัวการสำคัญในการผลิตน้ำนม น้ำนมแม่จะหลั่งได้เมื่อมีกลไกเกิดขึ้นดังนี้

 

เมื่อเจ้าตัวน้อยดูดนมแม่ ในขั้นตอนที่ 1 – 2 – 3 จะมีคำสั่งการไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สมองส่วนหน้า โปรแลคตินถูกสร้างจากต่อมส่วนหน้า  ส่วนออกซีโตซินผลิตจากส่วนหลังของต่อมเดียวกัน โพรแลคติน จะถูกกระตุ้นให้หลั่งเพิ่มขึ้นเมื่อเจ้าตัวน้อยดูดนมแม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างน้ำนมขึ้นในต่อมน้ำนม  โพรแลคตินจะขึ้นสูงค้างอยู่หลังจากเจ้าตัวน้อยดูดนม นานประมาณ 30 นาที และลดลงหากเจ้าตัวน้อยไม่ได้ดูดนมต่อเนื่องบ่อยๆ สมองก็จะไม่ผลิตโพรแลคตินออกมาอีก น้ำนมก็จะผลิตออกมาน้อยตามไปด้วยค่ะ  และในขณะเดียวกัน สมองส่วนหลังก็หลั่ง ออกซิโตซินออกมา ทำให้เกิดการหลั่งน้ำนม การที่คุณแม่มีน้ำนมพุ่งออกมาจากเต้าเกิดจากออกซีโทซินกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ ต่อมน้ำนม และกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่พันอยู่รอบๆ ท่อน้ำนมมีการบีบตัว   ทำให้น้ำนมไหลไปสู่ลูกอย่างต่อเนื่องค่ะ เพราะฉะนั้น การดูดจึงสำคัญต่อการสร้างและหลั่งน้ำนม

 

ผู้เชี่ยวชาญได้ศึกษากระบวนการสร้างและหลั่งน้ำนมในสัตว์ที่นิยมนำมาทำนมผงดัดแปลงสำหรับทารกพบว่า วัว แพะ มีการสร้างและหลั่งน้ำนมที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เเพะเป็นสัตว์ที่มีการสร้างและหลั่งน้ำนมแบบอะโพไครน์ แบบเดียวกับนมแม่ จึงทำให้นมแม่และนมแพะมีสารอาหารจากธรรมชาติที่หลุดออกมาพร้อมกับน้ำนมในปริมาณสูง เรียกว่า Bioactive Components

 

น้ำนมเพื่อลูกรักทุกๆหยดต้องมี Bioactive Components เพราะ Bioactive Components ประกอบด้วยสารอาหารธรรมชาติที่สำคัญต่อเจ้าตัวน้อยคือ

 

นิวคลีโอไทด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ทอรีน ช่วยให้การทำงานของจอประสาทตาดีขึ้น

โพลีเอมีนส์ ส่งเสริมระบบทางเดินอาหารให้สมบูรณ์

โกรทแฟคเตอร์ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต

นอกนมแม่และนมแพะจะมีกระบวนการสร้างน้ำนมแบบเดียวกันแล้ว นมแพะยังมีโครงสร้างของโปรตีนที่คล้ายคลึงกับนมแม่มากด้วยเช่นกัน คือ  โปรตีน CPP หรือ Casein Phosphopeptides เป็นโปรตีนที่พบมากในนมแพะและนมแม่โดยธรรมชาติ มีคุณสมบัติพิเศษคือ นุ่ม ย่อยง่าย ทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้ง โปรตีน CPP ยังช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียม

 

เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ ให้มีมากยิ่งขึ้น

หัวใจสำคัญในการเพิ่มน้ำนมแม่ ให้มีมากและเหลือล้นนั้น คือ ทำให้ร่างกายหลั่งโปรแลคตินเพิ่มขึ้น โดยการให้ลูกดูดนมตามหลัก 4 ดูด ดังนี้

 

ดูดเร็ว เทคนิคในข้อนี้เน้นให้คุณแม่ทุกคนหลังลอดบุตรแล้ว หากฟื้นตัวดีแล้วและลูกอยู่ในสภาพร่างกายปกติ ให้นำมาดูดกระตุ้นนมแม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สองชั่วโมงแรกหลังคลอดดีที่สุด


ดูดบ่อย ให้ดูดนมแม่ได้เลย ทุกๆ 2 ชั่วโมง สม่ำเสมอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วมากขึ้น

ดูดถูกวิธี  ปากของเจ้าตัวน้อยต้องเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมให้ลึกที่สุดจนมิดลานนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางแนบเต้า ปลายจมูกชิดหรือแตะเต้านม และริมฝีปากบน-ล่างบานออก แบะๆลักษณะเหมือนปากปลา คางของลูกจรดกับเต้านมแม่ จมูกเจ้าตัวน้อยไม่ถูกสิ่งใดกดเบียด

 
ดูดเกลี้ยงเต้า เพื่อให้เจ้าตัวน้อยได้รับน้ำนมส่วนท้าย ไม่ค้างเต้า การมีน้ำนมค้างเต้าทำให้ร่างกายรับรู้โดยอัตโนมัติ จึงไม่ผลิตน้ำนมมาเพิ่ม เพราะฉะนั้นหากเจ้าตัวน้อยดูดไม่หมดต้องปั๊มเก็บให้เกลี้ยงเต้าทุกครั้ง


ยิ่งให้เจ้าตัวน้อยดูดนมแม่มากเท่าไหร่ น้ำนมแม่ก็จะถูกผลิตออกมาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่อความต้องการของเจ้าตัวน้อย ทั้งนี้คุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ไม่มีความเครียด เพื่อส่งเสริมการสร้างและหลั่งน้ำนมให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

 

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นของ www.baby8slot.com แหล่งรวมสินค้าแม่และเด็ก ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก คาร์ซีท ของเล่นเสริมพัฒนาการ

หน้า: 1 [2] 3 4