อบเชยต้น (เชียด)




รายละเอียดโพส! admin
กลุ่มยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ  
อบเชยต้น (เชียด)
  • 0 ตอบ
  • 3314 อ่าน
« admin»เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2563, 06:55:59 pm »


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ใบและเปลือกหอม ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน เหม็น กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ คล้ายกลีบเลี้ยง กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ : เปลือก ใบ

สรรพคุณและวิธีใช้

เปลือก
– หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม
– เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา
– ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต

ใบ – เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ

รากกับใบ – ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume

ชื่อสามัญ : Cinnamon

วงศ์ : Lauraceae

ชื่ออื่น : กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง) ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มกราคม 2564, 10:56:48 pm โดย admin »