การยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ยินดีให้บริการ

  
การยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ยินดีให้บริการ
  • 0 ตอบ
  • 115 อ่าน
« jetsaridlawyer»เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2566, 05:28:52 pm »
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ให้บริการยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ทั้งแบบมีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมทั่วราชอาณาจักร

     ภายหลังจากผู้ตาย (เจ้ามรดก) ได้ถึงแก่ความตายแล้ว มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้น ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล หนี้ ภาระติดพันทั้งการจำนอง จำนำ หรือ ค้ำประกัน เป็นต้น จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม แต่ก็อาจเกิดปัญหาในการแบ่งมรดก เช่น ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือ ลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้

    กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า “ผู้จัดการมรดก“ แม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน

>> วิธียื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

      – ยื่นคำร้องต่อศาลที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย ได้แก่ ศาลแพ่ง (กทม.), ศาลจังหวัด (ต่างจังหวัด) หากผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกนั้นตั้งอยู่ในเขตศาล

      – ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ได้

      – เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว กำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 45 – 60 วัน

      – ส่วนการไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบประชุมทางจอภาพอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม (Google Meet , Zoom Meeting , Line Meet) ได้

ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ได้ทั่วราชอาณาจักร

ติดต่อเรา https://www.jetsaridlawyer.com

​​
​​